โรคมะเร็ง เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก 1) ปัจจัยทางพันธุกรรม มียีนที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ และ 2) ปัจจัยทางพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต อาทิเช่น พฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การขาดกิจกรรมทางกาย ความเครียด และมลพิษที่อยู่รอบตัว โรคมะเร็งส่วนใหญ่ มากกว่าร้อยละ 80 เกิดจากปัจจัยทางพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตคนเมือง และมลภาวะ “ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก” รวมทั้งเศรษฐานะ เป็น 3 ปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งโรค NCDs อื่น ๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น (Early Cancer Screening) ดูเสมือนว่า จะเหลือเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยลดความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และลดค่าใช้ในการรักษาพยาบาลภาครัฐลงได้อย่างมหาศาล
วิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ในระยะเริ่มต้นในอดีตที่ผ่านมายังมีความสำเร็จต่ำ โดยสามารถตรวจพบมะเร็งได้ในระยะแพร่กระจายและระยะลุกลาม (Cancer Stage 3-4) และยากต่อการรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยทางชีวะการแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถตรวจพบการกลายพันธุ์เหนือระดับดีเอ็นเอ หรือ Epigenetics เช่น DNA Methylation ของเซลล์ (Cell Free DNA) ที่ผิดปกติ ที่มีโอกาสเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือเป็นเซลล์มะเร็งในระยะที่ยังไม่ลุกลาม ที่หลุดเข้าไปในกระแสเลือด ดังแสดงในรูป (Pre-Cancer และ Cancer Stage 1/2)
แม้ว่ามีความก้าวหน้าทางชีวะการแพทย์ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นแล้ว วัฒนธรรมทางด้านสุขภาพของคนไทยส่วนใหญ่ ในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก รวมทั้งคนไทย อาจยังขาดความรอบรู้ในด้านสุขภาพแม่นยำ “Precision Health Literacy” และปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการดังกล่าวได้
Join with us …
กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม ” ดูแลสุขภาพแม่นยำ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ “