Smart Retail

ระบบจัดการค้าปลีกอัจฉริยะ (Smart Retail) เป็นการบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้โครงการ Smart Supply Chain และ Trading  Business Simulation Game โดยสร้างต้นแบบในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ Smart Retail ครอบคลุม 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

  • Null Stock: ระบบเติมเต็มวัตถุดิบโดยอาศัยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)พยากรณ์ยอดขาย ประมาณความต้องการวัตถุดิบ และควบคุมวัตถุดิบ/สินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับ 0 (Null) เพื่อลดความสูญเสียวัตถุดิบ (Food waste) ลดต้นทุนการสั่งซื้อ/ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนสินค้าคงคลัง
  • Smart Booking & Delivery: ระบบเดลิเวอรี่ภายชุมชน รวมทั้งการจอง/สั่งล่วงหน้า (Pickup order/ Pre-order booking) จัดลำดับส่งสินค้าและบริการ โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์ เพื่อให้ต้นทุนในการส่งมอบสินค้าต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัด และความต้องการของลูกค้า
  • Recommender: ระบบแนะนำสินค้าและบริการ โดยสังเคราะห์ข้อมูลการสั่งซื้อ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงพฤติกรรมของลูกค้าในรูปแบบโครงข่ายความสัมพันธ์ เพื่อแนะนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล อาทิเช่น เมนูแนะนำ โปรโมชั่น Menu pairing, Set meal และ Social recommend เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการ
  • Blockchain: ระบบควบคุมความปลอดภัย (Food safety) การสร้างความน่าเชื่อถือของชัพพลายเออร์ และ Smart contract ใน Food supply chain โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ภายใต้โครงการจะจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร/ ผู้ผลิตภายในชุมชนโดยตรง (Farm-to-table) เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน

ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการ

  • เพื่อสร้าง Playground สำหรับการทดลอง วิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบ Smart Retail
  • เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ระบบจัดการโซ่อุปทานสมัยใหม่ สำหรับร้านค้าปลีกและธุรกิจบริการ
  • เพื่อนำผลลัพธ์ของโครงการไปต่อยอด งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการขยายผลในเชิงพาณิชย์
  • เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0/ EEC และ New S-Curve (อุตสาหกรรมโลจิสติกส์)
  • เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน = สิ่งแวดล้อม (ลดของเสีย/ Food waste) + ความมีส่วนร่วม (Trusted supplier network) + เศรษฐกิจชุมชน (Farm-to-table)

Fulfillment

แพลตฟอร์ม M-Commerce สำหรับสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในพื้นที่ (Local tourism) โดยติดตั้งป้าย  Stand ประชาสัมพันธ์สำหรับโหลดแอปพลิเคชัน และสแกน QR หมายเลขห้อง เพื่อเรียกใช้บริการต่าง ๆ ของโรงแรม (Room services) สั่งอาหาร ของฝาก และบริการต่าง ๆ โรงแรมได้รับข้อมูลการเรียกใช้บริการของแต่ละห้องผ่าน iCounter (Tablet POS) และระบบจัดการออเดอร์เพื่อเติมเต็มสินค้าและบริการ (iOrder fulfillment) ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน

นอกจากนี้ ระบบยังสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนออเดอร์ที่เข้ามาใหม่ในกลุ่มไลน์แอปพลิเคชัน (Line Notify) เพื่อความสะดวกในการติดตามและตอบสนองข้อมูลความต้องการของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ รวมทั้งยังสามารถจัดการและตรวจสอบสถานะของออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งมาในทุก ๆ ขั้นตอน

 

  • Processing อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ จัดเตรียมสินค้าและบริการ
  • Shipped ออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งได้ถูกส่งออกจากศูนย์เติมเต็มสินค้าแล้ว
  • Ready for Pickup สินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ที่กำหนด เช่น เคาเตอร์โรงแรม
  • Delivered สินค้าได้ถูกจัดส่งแล้ว
  • Returned สินค้าถูกส่งคืน

สำหรับผู้ให้บริการ M-Commerce ในพื้นที่ หรือการบริหารกลุ่มของโรงแรม ที่พัก สามารถจัดการออเดอร์ที่เข้ามาทั้งหมด หรือแบ่งการจัดการเฉพาะแต่ละโรงแรม ได้

City Delivery

NodeB เป็นแพลตฟอร์ม Cross docking and delivery สำหรับธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ ครอบคลุมระบบการจัดเส้นทาง การจัดลำดับงานของยานพาหนะสำหรับขนส่งและการกระจายสินค้า ซึ่งครอบคลุมความต้องการของธุรกิจที่หลากหลาย (Business criteria หรือ Soft constraints) อาทิเช่น

    • เพื่อใช้จำนวนยานพาหนะที่ใช้จัดส่ง น้อยที่สุด
    • เพื่อให้รถขนส่งอยู่ในโซนเดียวกัน มากที่สุด โดยการกำหนด Main zone ของแต่ละ Drop point
    • เพื่อให้การกระจายตัวของตำแหน่งลูกค้าในรถขนส่ง น้อยที่สุด โดยใช้ Centriod ในการจัดส่งของรถแต่ละคัน
    • เพื่อให้ระยะทางในการขนส่งรวมของรถทุกคัน น้อยที่สุด

ภายใต้เงื่อนไขหลัก (Hard constraints) อาทิเช่น

    • เงื่อนไขด้านเวลาในการจัดส่ง (Time windows)
    • เงื่อนไขด้านปริมาตรในการจัดส่ง

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังรองรับการใช้บริการของร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ที่พัก โรงแรม ซึ่งเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ในชุมชน หรือร้านค้าจัดส่งสินค้าและบริการเอง

Simulation

ปัจจุบัน การบริหารโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมการผลิตมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของปัจจัยหลัก  4 ตัว ได้แก่ อุปทาน (Supply) อุปสงค์ (Demand) ปริมาณวัตถุดิบ/สินค้าคงคลัง (Inventory) และสภาพเศรษฐกิจ (Economy) ดังนั้น ความรู้และความเข้าใจการจัดการโลจิสติกส์ และการบริหารโซ่อุปทาน จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มผลกำไร และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันขององค์กรได้

TradeSim มีจุดเด่นและแตกต่างเกมจำลองอื่น ๆ เนื่องจากเป็นระบบสารสนเทศเชิงบูรณาการ โดยผนวกกับแบบจำลองโซ่อุปทาน (Supply chain simulation) เกมในภาคธุรกิจ (Business game) และการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) อาทิเช่น การซื้อขายวัตถุดิบหรือ Product ในเทอมการค้าต่าง ๆ เช่น FOB FCA หรือ CIF การบริหารวัตถุดิบ/สินค้าคงคลัง การบริหารค่าระวางการขนส่งสินค้า การซื้อซื้อขายวัตถุดิบหรือ Product แบบ Physical หรือ Paper (ซื้อขายตัวเลขกันแบบไม่มีสินค้าจริง) หรือการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ทั้งแบบ Fix และ Float (ราคาล่วงหน้าที่วันปัจจุบัน + x บาท) เป็นต้น ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลผู้เล่นทั้งหมดไว้ด้วยกันแบบเรียลไทม์ และ Fully synchronization สามารถจำลองสถานการณ์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการจัดการและบริหารโซ่อุปทานสมัยใหม่ รวมถึงการผสมผสานระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาในเกมจำลองการบริหารโซ่อุปทานในการวิเคราะห์ข่าวจากสื่อออนไลน์ (Web and text mining) ข้อมูลราคาตลาด พยากรณ์แนวโน้ม โดยอาศัยข้อมูล Supply, Demand, Inventory และ Economic จากสถานการณ์โลก เพื่อให้ระบบปฏิบัติการจำลองมีความเสมือนจริงมากที่สุด

หลังจบเกม Admin สามารถดูสรุปผลการเล่นในด้านต่าง ๆ สรุปผลรวมของแต่ละผู้เล่น กำไรที่ทำได้ จำนวนวัตถุดิบและสินค้าที่เหลือในคลัง การซื้อขายรวม จำนวนการซื้อขาย และเงินที่เหลือ การสรุปผลในแต่ละ Period จำนวนการซื้อขายและมูลค่าการซื้อขายในแต่ละ Period แบ่งตามผู้เล่น และ Product ชนิดต่าง ๆ รวมถึงรายละเอียดในแต่ละ Order และพฤติกรรมการซื้อขายของผู้เล่น

Penguin

 

ไอออเดอร์ เพนกวิน เป็นแอปพลิเคชันการสั่งอาหาร สินค้าและบริการ ด้วยสมาร์ทโฟน ทั้งในระบบปฏิบัติการ Android และ IOS โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดต้นทุน และเพิ่มโอกาสในการขายของผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร ห้องพักภายในโรงแรม โรงพยาบาล เทศบาลเมือง ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว รวมทั้งการจอง Pre-order booking สินค้าและบริการล่วงหน้า ฯลฯ ผู้ประกอบการไม่จำต้องลงทุนพัฒนาแอปพลิเคชันของตนเอง ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง และการดูแลรักษาแอปพลิเคชัน ที่ปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา อาทิเช่น ฟังก์ชันหรือไลบรารีการเรียกใช้งานจาก Third-party การอัพเดทระบบปฏิบัติการของ Android และ IOS การอัพเดทโปรแกรมภาษาเป็นต้น แอปพลิเคชัน ไอออเดอร์ เพนกวิน ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งาน 4 ส่วน หลัก ๆ ดังนี้

  1. พนักงานเสิร์ฟสั่งอาหาร – โดยใช้สมาร์ทโฟนของร้านหรือของพนักงานเอง (ทั้ง Android และ IOS) ทั้งนี้ เพื่อประหยัดต้นทุนในการซื้ออุปกรณ์ และเพิ่ม Flow การทำงานของร้านอาหารและบริการให้เร็วขึ้น ใช้พนักงานน้อยลง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2.  ลูกค้าสั่งอาหารจากโต๊ะอาหาร – โดยใช้สมาร์ทโฟนของลูกค้า (หรือแท็บเล็ตของร้าน) โหลดแอปพลิเคชัน -> Scan QR code ที่โต๊ะอาหาร – > สั่งอาหาร Place Order -> เรียกเช็คบิล/ ชำระเงิน เพื่อลดระยะเวลารอคอยของลูกค้า และใช้จำนวนพนักงานที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึง การสร้างกลไกให้การบันทึกข้อมูลยอดขายและการชำระเงินผ่านระบบ เพื่อลดการทุจริตของพนักงานได้
  3. ลูกค้าสั่งอาหาร ของฝาก บริการ ซื้อตั๋วการแสดง บัตรผ่านประตู นำเที่ยวในพื้นที่ รถเช่า ส่งอาหารเดลิเวอร์รี่ ฯลฯ จากห้องพักภายในโรงแรม – โดยใช้สมาร์ทโฟนของลูกค้า โหลดแอปพลิเคชัน  -> Scan QR Code เพื่อระบุหมายเลขห้อง  -> Place Order บริการดังกล่าวนี้มีลักษณะเป็น Local e-commerce เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า และเพิ่มรายได้ให้กับโรงแรม
  4. ลูกค้าจองโต๊ะและสั่งอาหารล่วงหน้า (Pre-order booking) – โดยใช้สมาร์ทโฟนของลูกค้า โหลดแอปพลิเคชัน  เพนกวิน ถูกออกแบบให้มี Flow การทำงาน เปรียบเสมือนเป็น แอพฯ ของร้านค้าเอง ซึ่งร้านค้าอาจจะโปรโมทให้กับลูกค้าประจำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า และร้านค้าสามารถใช้ เพนกวิน ในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าในลักษณะอื่น ๆ ได้
  • ตัวอย่างรูปแบบป้าย Stand พลาสติกที่ตั้งไว้ในห้องพักโรงแรม จะแบ่งออกเป็นหน้าหน้าของโรงแรม Hotel Service & Meal Ordering  บริการในหน้านี้โรงแรมเป็นผู้จัดการเอง ซึ่งอาจจะเป็นบริการพื้นฐานของโรงแรมให้กับลูกค้า  อาทิเช่น การขอบริการพิเศษจากโรงแรม การสั่งอาหาร (จากครัวโรงแรม) ขึ้นมาที่ห้องพัก โดยทางโรงแรมอาจจะเรียกชำระเงิน หรือรวมกับค่าห้องพักได้

 

  •  หน้าของโรงแรมร่วมกับบริการไอออเดอร์ (Hotel-iOrder Service) บริการในส่วนนี้ ไอออเดอร์จะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ในการจัดหาสินค้าและบริการ และเรียกชำระเงินจากลูกค้าในลักษณะ Pre-paid เท่านั้น อาทิเช่น จ่ายผ่านบัครเครดิต Prompt pay เป็นต้น สำหรับสินค้าประเภทของฝากท้องถิ่น ไอออเดอร์ จะจัดส่งที่เคาเตอร์โรงแรม ตามเวลาที่กำหนดในเงื่อนไขของการบริการ เช่น ภายในเวลา 8:00 น. ของวันถัดไป เป็นต้น

 

ตัวอย่างรายการหมวดของเมนู ในหน้า Explore – Local Product & Events

  • Local Product ของฝากท้องถิ่น
  • Souvenir ของที่ระลึก
  • Show & Event การแสดงโชร์ คอนเสิร์ต ร้านอาหาร
  • Ticket บัตรผ่านเข้าประตู Museum ส่วนลดร้านอาหาร และอื่น ๆ
  • Local Guide นำเที่ยวในพื้นที่ แพ็คเก็จ/ บริการมัคคุเทศน์
  • Excitement โปรแกรมน่าตื่นเต้น เช่น บ้านผีสิง Bungy jump ดำน้ำ
  • Service รถเช่า นวดไทย จองตัดผม ล้างรถ พบหมอ
  • Hotel Select สินค้าและบริการของโรงแรมที่เลือกมาขายเอง
  • Food Delivery ส่งอาหารเดลิเวอรี่ในพื้นที่
  • Local More อื่น ๆ ในพื้นที่ เช่น บริจาคเงินให้โรงเรียนในชุมชน/ โรงเรียนผู้พิการ

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับฟังก์ชันการประยุกต์ใช้งานที่ลูกค้าสั่งซื้อของฝาก สินค้า และบริการ จากห้องพักของโรงแรม ผ่านแอปพลิเคชัน เพนกวิน มีการแบ่งปันรายได้ (Revenue sharing) 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. Rev Share โรงแรม และ ไอออเดอร์ แชร์ส่วนแบ่งกำไร 15 : 85  โดยที่ ไอออเดอร์ เป็นผู้จัดหาสินค้าและบริการ และหักค่าใช้จ่ายที่ ไอออเดอร์ดำเนินการ ประกอบด้วย 1) ค่าบริการ Order Fulfillment ต่อบิล 2) ค่าจัดส่งต่อบิล 3) ค่าธรรมเนียมการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต  และ 4) ค่าบริการ Call Center ต่อบิล
  2. Owner โรงแรมรับรายได้ทั้งหมด 100% ในกรณีที่โรงแรมเป็นผู้ดำเนินการจัดหาสินค้าและบริการ จำหน่าย และจัดส่งเอง โดยโรงแรมชำระค่าลิขสิทธิ์การเช่าใช้แพลตฟอร์มไอออเดอร์รายปี

* ทดลองใช้ระบบ 90 วัน

NullStock

ฟังก์ชัน NullStock ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารในการเติมเต็มวัตถุดิบ (Stock replenishment) ในแต่ละวัน ระบบอาศัยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (Neural network) ในการเรียนรู้ยอดขายที่ผ่านมาในอดีต รวมทั้งตัวแปรในอนาคตที่ช่วยในการพยากรณ์ (Predicted variables) อาทิเช่น พยากรณ์อากาศ 5 วันล่วงหน้า และข้อมูลการจอง/การใช้งานห้องพักโรงแรมในพื้นที่ (่ผ่านระบบ i-Order Penguin) NullStock เป็นระบบช่วยในการตัดสินใจ โดยจะแนะนำปริมาณวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อที่เหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขในการทำงาน อาทิเช่น ระยะเวลาสั่งซื้อ (Lead time) ปริมาณสั่งซื้อขั้นต่ำ (MOQ) รอบเวลาสั่งซื้อ และเปอร์เซ็นต์ที่สามารถนำวัตถุดิบมาใช้ได้ (Yield percentage) เป็นต้น

เพื่อให้ได้ข้อมูลการสั่งซื้อที่มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องอัพเดทข้อมูลสต็อก (Check stock) วัตถุดิบทุกวัน รวมทั้งใส่ข้อมูลวัตถุดิบที่เน่าเปื่อย สูญเสีย เพื่อใช้ในการสรุปรายงานการสูญเสียวัตถุดิบ และปรับข้อมูลการเรียนรู้ในแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม แม้ว่าฟังก์ชัน NullStock จะแนะนำและช่วยในการตัดสินใจสั่งซื้อวัตถุดิบให้อย่างอัตโนมัติ (โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการสั่งซื้อ และการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด) ผู้ประกอบการร้านอาหารยังสามารถ ปรับเปลี่ยนแก้ไข ข้อมูลปริมาณการสั่งซื้อได้เองตามสไตล์การทำงานและความเหมาะสมของแต่ละร้านได้

หมายเหตุ สำหรับฟังก์ชัน NullStock นี้ ร้านอาหารที่สนใจ จะต้องขอสิทธิ์เปิดการใช้งาน  และจะต้องมีเวลาการใช้งานขั้นต่ำ 30 วันเพื่อให้ระบบสร้างค่าเริ่มต้นในแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม เพื่อใช้แนะนำปริมาณวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อที่เหมาะสมได้

Global Menu

เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาระบบ เพื่อเป็นระบบจัดโซ่อุปทานอัจฉริยะของร้านอาหาร (Smart Restaurant Supply Chain) ดังนั้นข้อมูลวัตถุดิบของร้านอาหารทั้งหมด จะมีรหัสฐานข้อมูลเดียวกัน (Unique ID)

อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารสามารถเปลี่ยนชื่อ Alias name ของวัตถุดิบตามที่ต้องการได้ นอกจากนี้ ผลการสำรวจร้านอาหารที่ใช้งานระบบ POS ทั่ว ๆ ไป พบว่า ปัญหาของการป้อนสูตรการตัดวัตถุดิบของเมนูอาหาร นั้นเป็นงานที่น่าเบื่อ ต้องใช้ระยะเวลา และความพยายามสูง ทำให้หลักการในการบริหารวัตถุดิบของร้านให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ถูกละเลย โดยเฉพาะร้านอาหารขนาดเล็กและขนาดกลาง ทั้งที่ต้นทุนของวัตถุดิบนั้น มากถึง 30-40% ของราคาอาหาร

จากเหตุผลดังกล่าว ทีมงานจึงพัฒนา Global menu สำหรับร้านอาหาร ที่สามารถ Map เข้ากับชื่อเมนูอาหารของร้าน เพื่อพร้อมใช้งานการตัดวัตถุดิบได้ทันที อย่างอัตโนมัติทั้งนี้

ร้านอาหารยังคงสามารถป้อนข้อมูลสูตรการตัดวัตถุดิบของร้าน (Local menu) หรือปรับแก้จาก Global menu ได้โดยสะดวก เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องกับเมนูอาหารของร้านมากยิ่ง ๆ ขึ้น

 

 

Food Data

จากข้อมูลยอดขายของร้านอาหาร สามารถนำมาสังเคราะห์ข้อมูลในเบื้องต้น เพื่อทราบถึงพฤติกรรมการสั่งอาหารของลูกค้า และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาเมนูอาหารที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของร้านอาหาร ตัวอย่างข้างล่างเป็นข้อมูลการขายของร้านอาหารทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ของปี 2560

10 อันดับเมนูอาหารที่ขายดีที่สุด อันดับหนึ่งคือ ปลากระพงทอดราดน้ำปลา ซึ่งมีปริมาณที่สั่งสูงที่สุด เมื่อวิเคราะห์ในเชิงลึกแล้ว คำถามก็คือว่า ทำไมเมนูปลากระพงทอดราดน้ำปลา ถึงขายดีที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นเมนูอาหารทะเลทั่ว ๆ ไป และร้านอาหารทะเล อื่น ๆ เมนูปลากระพงทอดราดน้ำปลา ก้ไม่ได้ขายดีที่สุด คำตอบที่ได้คือ ร้านอาหารแห่งนี้คัดเลือกปลาขนาดใหญ่ (9 ขีด) และขายให้ลูกค้าในราคา 400 บาท ทำให้ลูกค้าเกิดความคุ้มค่า (Value for money: VFM) มากที่สุด ส่วนเมนูอื่น ๆ เช่น ปลาหมึกผัดไข่เค็ม ก็ติดอันดับ Top-10 ของเกือบทุก ๆ ร้านอาหารทะเล และยำสามแซ่บ (ยำทะเล 3 อย่าง) ซึ่งเป็นเมนูที่ทางร้านต้องการให้เป็น Signature Dish ติดอยู่ลำดับที่ 10

เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายตามประเภทของเมนูอาหาร พบว่า ประเภทเมนูปลา ปลากระพงทอดราดน้ำปลายังคงมียอดขายสูงสุด และตามที่คาดเดาไว้คือ หมึกผัดไข่เค็ม ก็มียอดขายสูงสุดในประเภทปลาหมึก  สิ่งที่เป็นข้อสังเกต คือ ประเภทเมนูกุ้ง กุ้งแช่น้ำปลา มียอดขายสูงสุด ทั้งนี้ทางร้านต้องนำข้อมูลดังกล่าวไปสังเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมนูกุ้งแช่น้ำปลามีความสัมพันธ์กับยอดขายเครื่องดื่มแอลกออฮอร์ หรือเมนูอาหารประเภทอื่น ๆ หรือไม่ เป็นต้น

เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายตามประเภทของวิธีการปรุงอาหาร พบว่า อาหารประเภทยำ ยำสามแซ่บ มียอดขายสูงสุด ซึ่งตรงกับความตั้งใจของร้านอาหารแห่งนี้ และประเภทผัดนั้น หมึกผัดไข่เค็ม มียอดขายสูงสุด ส่วน ต้มยำ ยังติดลำดับสูงสุดอาหารไทยยอดฮิต ตามความคาดหมาย นอกจากนี้ จะสังเกตเห็นด้วยว่า พฤติกรรมของลูกค้านั้น ชอบอาหารประเภททอด มากที่สุด  และอาหารประเภทย่าง/เผา น้อยที่สุด ซึ่งมีความแตกต่างจากอาหารประเภทอื่น อย่างมีนัยสำคัญ

   

Choice Menu

จากความตั้งใจในการพัฒนาให้ ระบบครอบคลุมการใช้งานร้านอาหาร หลากหลายประเภท โดยเฉพาะร้านอาหารตามสั่ง เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว หรือร้านอาหารเช้า ที่มีตัวเลือกเมนูค่อนข้างซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น เลือกเส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำ แห้ง ชิ้น สด เปื่อย หรือเลือกท้อปปิ้ง หน้าต่าง ๆ ของไข่กระทะ ทั้งแบบไม่คิดเงินและคิดเงินเพิ่ม ทำให้ระบบแตกต่างจากระบบ POS อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ร้านอาหาร Quick meal ที่มีการหมุนเวียนของลูกค้าเข้าออกร้านอย่างเร็ว ระบบยังไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในขณะนี้ ซึ่งทางทีมพัฒนากำลังหาวิธีที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะพัฒนาให้อยู่ในลักษณะเมนูด่วน (เปิดใช้งานสั่งออเดอร์เฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน) หรือระบบสั่งอาหารด้วยเสียง (Voice command) เป็นต้น

TabMenu

เนื่องจากระบบ iCounter ซึ่งเป็น Tablet POS ที่มีหน้าจอขนาดเล็ก (ปัจจุบัน มีให้เลือกได้ 3 ขนาด 7, 8 และ 10.1 นิ้ว บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยส์) iCounter เวอร์ชันตั้งแต่ 3.5.0 ขึ้นไป จึงเพิ่มฟีเจอร์การแนะนำหรือพยากรณ์การกดหมวดเมนูอาหารที่จะสั่งอัตโนมัติ (TabMenu Recommeder) โดยอาศัยข้อมูลการสั่งเมนูอาหารในอดีต เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างเมนูอาหารที่ลูกค้าสั่งในแต่ละใบเสร็จ (Item-to-Item collaborative filtering) ทำให้ลดจำนวนการกด TabMenu ที่หน้าจอแท็บเล็ต พนักงานสามารถกดสั่งอาหารได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องกดเลือกหน้าสลับหน้าไปมาในแต่ละหมวดหมู่อาหาร