ศูนย์เชี่ยวชาญยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ aDrive – Autonomous Solution คณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา ร่วมกับ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม รับสมัครนิสิตสหกิจศึกษาและ Co-senior projects
#aDrive #FutureMobility
Food, Health, Future Mobility and PHA Bioplastics
ศูนย์เชี่ยวชาญยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ aDrive – Autonomous Solution คณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา ร่วมกับ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม รับสมัครนิสิตสหกิจศึกษาและ Co-senior projects
#aDrive #FutureMobility
Social Points Exchange Platform on Blockchain
การทำกิจกรรมเพื่อสังคมจะช่วยทำให้สังคมน่าอยู่ หลาย ๆ องค์กรสนับสนุนการทำกิจกรรมเพื่อสังคมโดยใช้การสะสมคะแนนและนำคะแนนเหล่านั้นไปแลกของรางวัล อย่างไรก็ตาม ผู้ทำกิจกรรมกลับไม่ได้นำคะแนนสะสมไปใช้งาน อาจเพราะว่ามีคะแนนไม่เพียงพอหรือของรางวัลไม่ตรงกับที่ต้องการ งานวิจัยนี้เสนอการพัฒนาแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคะแนนเพื่อสังคม เนื่องจากการใช้แพลตฟอร์มกลาง จะทำให้เกิดปัญหาความเชื่อใจโดยที่แต่ละองค์กรต่างก็สามารถสร้างคะแนนสะสมขึ้นมาได้เองและสมาชิกขององค์กรอื่นสามารถนำคะแนนสะสมมาแลกของรางวัลกับองค์กรของตนได้ บล็อกเชน ไฮเปอร์เล็ดเจอร์ แฟบริค ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยแปลงคะแนนสะสมของแต่ละแอปพลิเคชันเป็นเหรียญก่อนนำเข้าสู่แพลตฟอร์ม จากนั้นเจ้าของเหรียญสามารถเสนอซื้อหรือเสนอขายเหรียญที่ตนเองต้องการ เมื่อต้องการแลกของรางวัล ผู้ใช้จะถอนเหรียญออกจากแพลตฟอร์มและแปลงกลับไปเป็นคะแนนสะสมไปยังแอปพลิเคชันที่ต้องการแลกของรางวัล ผลการทดสอบแพลตฟอร์มตามสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น สามารถแปลงคะแนนสะสมเป็นเหรียญ แลกเปลี่ยนเหรียญโดยการเสนอซื้อหรือเสนอขาย ประมวลข้อมูลธุรกรรมบนบล็อกเชน ค้นหาและตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Social activities enrich social communities and our society. A number of organizations have attempted to promote social activities by using point rewards. However, the organization members often do not use these points for redemption. This may be either they do not have sufficient points or the rewards are not attractive to them. This research develops the social points exchange platform on blockchain. Due to the centralized structure of the platform brings untrusted issues in which the organization can make points and its member can redeem the points to other organizations. The Hyperledger Fabric blockchain is applied to solve the problem by tokenizing points for each organization, and managing them in the exchange platform. The member makes an offer or bid for the tokens. To redeem points, the member withdraws the tokens from platform and re-tokenize them to the points of application that offers interesting redemption. The computational experiments with several specified scenarios have indicated that the platform is capable of tokenizing the social points, executing bid and offer for the tokens, processing blockchain data, finding and tracing the transactions effectively
ที่มีรูป : Money Sense
A mobile app-based intervention for personalized diet goals
โมบายแอพฯเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารตามค่าเป้าหมายเฉพาะบุคคล – การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารเป็นเรื่องที่ท้าทาย แม้ว่าบุคคลจะกำหนดแผนหรือเป้าหมายในการควบคุมปริมาณการบริโภคอาหารและสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณสารอาหารที่ขาด (หรือเกิน) ซึ่งส่งผลต่ออาการของโรคหรือภาวะสุขภาพในระยะยาว ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อที่จะทราบได้ว่า ในหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์เราขาดสารอาหารอะไร ในปริมาณเท่าไร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้โมบายแอปพลิเคชัน “KinYooDee” บนแพลตฟอร์มกินอยู่ดี เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารตามค่าเป้าหมายเฉพาะบุคคล แอปพลิเคชันฯ จะติดต่อกับระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตารางข้อมูลเมนูอาหารไทยและสารอาหารมากกว่า 10,000 เมนู เมื่อผู้ใช้บันทึกข้อมูลเมนูอาหารที่บริโภคลงในแอพฯ อัลกอริทึมจะประมวลผลและแนะนำเมนูอาหารพร้อมรายละเอียดปริมาณสารอาหารที่จะได้รับ ปริมาณสะสม และค่าระยะห่างจากเป้าหมาย ในช่วงเวลาการแจ้งเตือนที่เหมาะสม และตามรายการสารอาหารที่ผู้ใช้กำหนด รวมทั้งตามค่าเป้าหมายความสมดุลของการบริโภค นั่นคือ ต้องการสมดุลภายใน 1 วัน หรือ สมดุลภายใน 1 สัปดาห์ ผลทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการแสดงให้เห็นว่า แอปพลิเคชันฯ สามารถแจ้งเตือนและแนะนำเมนูอาหารได้ตามที่ออกแบบไว้ และมีข้อเสนอให้ปรับอัลกอริทึมโดยให้ลำดับความสำคัญต่อเมนูอาหารที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งปรับปรุงความถูกต้องของสารอาหารในเมนูอาหาร คณะผู้วิจัยยังคงพัฒนาแอปพลิเคชันฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลากรในองค์กร รวมทั้งประชาชนคนไทย ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันฯ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหาร จะถูกรายงานไว้ในงานวิจัยระยะถัดไป
นอนไม่หลับหรือหลับไม่มีคุณภาพ วิธีแก้ปัญหา?
หากพูดถึงการดูแลสุขภาพร่างกายที่ดีส่วนใหญ่มักพูดถึงการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลัก แต่อีกหนึ่งความสำคัญที่ไม่แพ้กันคือ การนอนหลับ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของเวลาการใช้ชีวิตในหนึ่งวัน เป็นการพักผ่อนที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูและซ่อมแซมระบบการทำงานของร่างกายตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งสมอง ความจำ การเผาผลาญ ภูมิคุ้มกัน การหายใจ รวมถึงสุขภาพจิต ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ วิตกกังวล ซึมเศร้า หลงลืม รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้ง่าย เมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
ดังแสดงในภาพด้านล่าง วงจรการหลับ-ตื่น (Sleep-wake cycle) ถูกควบคุมโดยนาฬิกาชีวภาพ ซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยแแสง และในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงสว่างจะมีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นวงจรการนอนหลับ โดยลดระดับความตื่นตัวและอุณหภูมิร่างกาย สำหรับวัยผู้ใหญ่ควรมีการนอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะ NREM (Non-rapid eye movement) ช่วงหลับปกติถึงหลับสนิท และระยะ REM (Rapid eye movement) ช่วงหลับฝัน
ที่มา: https://www.informedhealth.org/what-is-normal-sleep.html
การนอนหลับจะเริ่มต้นจาก ระยะ NREM สลับกับ REM เป็นวงจรตลอดการนอนหลับ 4-6 รอบ รอบละ 80-120 นาที หรือประมาณ 90 นาทีโดยเฉลี่ย (ดังแสดงในภาพด้านล่าง) วงจรแรกของการนอนหลับจะมีระยะ REM สั้นและนานขึ้นในรอบถัด ๆ ไป นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงชอบฝันช่วงใกล้เวลาตื่น ในความจริงแล้วร่างกายมีการฝันทุกคืน ฝันได้ทุกช่วงของการนอนหลับโดยเฉพาะในช่วง REM เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้และความจำ เพียงแต่ว่าเราจำได้บ้างไม่ได้บ้าง ขึ้นอยู่กับว่าตื่นขึ้นมาในช่วงที่มีการฝันหรือไม่
ที่มา: https://www.sleepfoundation.org/stages-of-sleep
การนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี คุณภาพของการนอนหลับต้องควบคู่ทั้งระยะเวลาการนอนและประสิทธิภาพของการหลับ ทำให้ตื่นด้วยความรู้สึกสดชื่นเต็มอิ่ม และไม่ง่วงระหว่างวัน มีช่วงเวลาหลับลึก (Deep sleep) 13-23% หรือประมาณ 55-97 นาที แต่ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ ภาวะนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ซึ่งมักจะรบกวนการนอนหลับและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่แล้วมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุ ความเครียด วิตกกังวล การออกกำลังกายอย่างหนัก การรับประทานอาหารที่อิ่มเกินไป การใช้สารกระตุ้น รวมถึงโรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ เช่น โรคทางจิตเวช โรคอ้วน รวมทั้งโรคทางเดินหายใจที่ทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับ การนอนกรน และการนอนละเมอ ซึ่งโรคเหล่านี้ควรได้รับการตรวจการนอนหลับ (Sleep test) เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
ในด้านอาหารและโภชนาการ เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อการใช้งานของร่างกาย โดยเน้นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับหรือกระตุ้นการสร้างเมลาโทนิน เช่น ทริปโตเฟน แอล-ธีอะนีน เซโรโทนิน เหล็ก และแมกนีเซียม พบได้มากใน นม ไข่ ถั่ว ข้าวโอ๊ต กล้วย กีวี่ เชอร์รี่ และปลา นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน นิโคติน สารเหล่านี้นอกจากจะรบกวนระยะเวลาการนอนแล้วยังทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลงด้วย และเป็นข้อสังเกตจากงานวิจัยว่า แอลกอฮอล์ (ในปริมาณที่ไม่เกินมาตรฐานการดื่ม) สามารถช่วยทำให้หลับได้ง่ายขึ้นก็จริง แต่จะลดคุณภาพของการนอนหลับลงด้วย และหากดื่มในปริมาณที่มากเกินไปเป็นประจำอาจเป็นภาวะติดแอลกอฮอล์เรื้อรังได้
จากการรวบรวมบทความทางวิชาการ เทคนิคที่จะช่วยแก้ปัญหาภาวะการนอนไม่หลับ และเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ โดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถสรุปได้ดังนี้
สังเกตด้วยว่า การใช้เมลาโทนินเพื่อช่วยการนอนหลับ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย ยังไม่อนุญาตให้ใช้เมลาโทนินเป็นส่วนประกอบในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ในระยะยาว และจัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายยา แม้ว่าบทความจากงานวิจัยบางส่วนจะระบุว่า เมลาโทนินสามารถช่วยให้นอนหลับได้เร็วขึ้นจริง แต่ผลที่ได้รับยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งอาจช่วยให้นอนหลับได้เร็วขึ้นเล็กน้อย หรืออาจจะช่วยไม่ได้เลย ในทางการแพทย์ ยังไม่แนะนำให้ใช้เมลาโทนินในการรักษาภาวะการนอนไม่หลับ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอ นอกจากนี้ นมผึ้ง (Royal jelly) ยังเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เชื่อว่า สามารถช่วยในการรักษาภาวะการนอนไม่หลับได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันแน่ชัดถึงสรรพคุณดังกล่าว และอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพเมื่อรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
กล่าวโดยสรุป การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่สำคัญต่อการฟื้นฟูระบบร่างกาย การนอนหลับที่ดีและมีคุณภาพจะช่วยทำให้ร่างกายตื่นด้วยความรู้สึกสดชื่นเต็มอิ่ม การมีวินัยต่อสุขอนามัยในการนอนหลับเป็นการแก้ปัญหาหลักสำหรับอาการนอนไม่หลับ หากยังมีภาวะนอนไม่หลับหรือหลับไม่มีคุณภาพ ควรไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การนอนหลับเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และไม่ควรซื้อยารับประทานเอง การทราบสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะการนอนไม่หลับตั้งแต่ระยะเนิ่น ๆ จะสามารถแก้ไขปัจจัยรบกวนและรักษาอาการได้เร็วขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ไม่เพียงแต่เพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันอีกด้วย
ที่มารูป : Forbes
การถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยหลักของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombophilia) เป็นการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่พบได้บ่อย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรทั่วโลก ถือว่าเป็นภัยเงียบ เนื่องจากในบางรายไม่มีการแสดงอาการ หรือมีอาการที่ไม่ชัดเจน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นอันดับสาม รองจากอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคลิ่มเลือดอุดตันเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ซึ่งมีสาเหตุจากพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบหลอดเลือดและการไหลเวียน ตามทฤษฎีของ Virchow’s triad สาเหตุที่ทำให้การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ได้แก่
การเกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่มาจากปัจจัยทางพันธุกรรม มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่
นอกจากนี้ ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ยังมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการแอนติฟอสโฟลิปิด (APS) โรคตับอักเสบ HIV โรคอ้วน มะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน การสูบบุรี่จัด พฤติกรรมการนั่งหรือนอนอยู่กับที่เป็นเวลานาน หญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ตำแหน่งที่พบการอุดตันของลิ่มเลือดได้บ่อย ได้แก่
นอกจากนี้ ปัจจัยด้านโภชนาการก็เป็นสิ่งสำคัญ การบริโภคอย่างไม่สมดุลและเกินความจำเป็น ส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ตามมา แนวทางการรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันมักจะมุ่งเน้นไปที่กลไกการสลายลิ่มเลือด การให้ยาละลายลิ่มเลือด นอกจากนี้ การรับประทานผักผลไม้ อาหารไขมันต่ำ รวมถึงพริก หอม และกระเทียม รวมทั้งการเพิ่มปริมาณไขมันดี HDL ในร่างกาย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้เช่นกัน
โดยสรุป ภาวะลิ่มเลือดอุดตันสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย พบมากในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน การป้องกันอาจไม่สามารถทำได้ 100% แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี ไม่ให้มีโรคประจำตัว เลือกรับประทานอาหารจากแหล่งไขมันดี หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด ยาคุมกำเนิด ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้ง การหมั่นสังเกตอาการผิดปกติในร่างกาย การตรวจคัดกรองและการรักษาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถช่วยลดการเจ็บป่วยและป้องกันการเสียชีวิตได้
ที่มารูป : michiganmedicine
KinYooDee Well-Being Index
ดัชนีกินอยู่ดี – ข้อความต่อไปนี้ ข้อความใดที่ตรงกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด ในช่วงเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
*ดัดแปลงจาก ดัชนีความเป็นอยู่ดี WHO-5 Well-Being Index (1998)
พาร์กินสัน ความเสื่อมทางสมองที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในผู้สูงอายุ โภชนบำบัดและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน
อาการสั่นเกร็ง ลักษณะเด่นของโรคพาร์กินสันที่เกิดจากความเสื่อมของสมองและระบบประสาทพบได้บ่อยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนประชากรผู้สูงอายุ และเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองฯ ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง รองจากโรคอัลไซเมอร์ จากข้อมูลปี 2553 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันราว 60,000 คน และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนมากขึ้นตามประชากรผู้สูงอายุ สถิติล่าสุดพบผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 3% ของประชากรผู้สูงอายุ หรือประมาณ 360,000 คน จาก 12 ล้านคนในปัจจุบัน (ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ โรงพยาบาลจุฬาฯ 2565)
พาร์กินสัน (Parkinson) เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากการลดการหลั่งสารสื่อประสาท “โดพามีน” ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้มีอาการสั่น แขนขาเกร็ง ก้าวไม่ออก เสียการทรงตัว เคลื่อนไหวร่างกายช้า พูดเสียงเบา เคี้ยวกลืนลำบาก และท้องผูก การรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันเป็นแบบประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้
การตรวจคัดกรองโรคพาร์กินสันเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น โดยใช้แบบประเมินของ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (2565) จำนวน 11 ข้อ
หากประเมินอาการได้มากกว่า 5 ข้อขึ้นไป ควรพบแพทย์ และหากมีอาการน้อยกว่า 5 ข้อ แนะนำให้ตรวจเช็คอาการเป็นระยะ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นพาร์กินสัน นอกจากนี้ สังเกตด้วยว่า โรคพาร์กินสัน ยังแสดงอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว อาทิเช่น คิดช้าลง ความจำไม่ดี ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท นอนละเมอออกท่าทาง ท้องผูก จมูกดมกลิ่นไม่ค่อยหรือได้กลิ่นลดลง
โรคพาร์กินสัน ยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แน่ชัด ปัจจัยส่วนใหญ่มาจาก อายุ เพศ (เพศชายมีโอกาสเกิดโรคฯ มากกว่าเพศหญิง 1.5 เท่า) มลพิษทางสิ่งแวดล้อม โรคหลอดเลือดสมอง ประวัติการบาดเจ็บทางสมอง และร้อยละ 10-15 มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม (โดยจะเริ่มมีอาการก่อน อายุ 50 ปี) ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีสาเหตุจากพันธุกรรม มักจะพบการกลายพันธุ์ในบางตำแหน่งของยีน อาทิเช่น ยีน AGT5 PARK7 LRRK2 และ GBA และหากมีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ควรเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ปัญหาที่มักพบในผู้ป่วยพาร์กินสันคือ ภาวะโภชนาการที่เป็นเหตุมาจากอายุและอาการของโรค โดยแบ่งออกเป็น 5 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่พบได้บ่อย ได้แก่
อาหารเป็นส่วนหนึ่งที่อาจเพิ่มความเสี่ยง หรือกระตุ้นความรุนแรงในผู้ป่วยพาร์กินสันได้ เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม โดยเฉพาะชีสและโยเกิร์ต อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง อาหารแปรรูป เนื่องจากมีสารอนุมูลอิสระ กระตุ้นการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน ทำให้เซลล์ถูกทำลายได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันมีสารอาหารอีกหลายชนิดที่ป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เช่น Phytonutrients (Carotenoid และ Beta-carotene) จากผักผลไม้ Genistein (ถั่วเหลือง) Levodopa (ถั่วฟาวา) โอเมก้า 3 จากสัตว์เนื้อขาว ไขมันต่ำ เช่น ปลา หอยนางรม Catechin และ EGCG (ชา) Resveratrol ที่ผิวองุ่นหรือไวน์แดง รวมทั้ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อย
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารแบบเมดิเตอเรเนียน (Mediteranean diet) ยังช่วยสนับสนุนการชะลอความเสื่อมของระบบประสาทลง โดยเน้นรับประทานอาหารจากแหล่งพืชผักผลไม้ โปรตีนเนื้อขาว ไขมันไม่อิ่มตัวจากน้ำมันมะกอก และไวน์แดง รวมทั้ง เพิ่มการขยับร่างกายอย่างง่าย เช่น แกว่งแขนแกว่งเท้า การเดิน ปั่นจักรยาน รำไทเก๊ก รำมวยจีน เต้นลีลาศในจังหวะชะชะช่าและแทงโก้ ฯลฯ ส่วนสารอาหารที่มักพบการบกพร่องได้บ่อย ได้แก่ วิตามินบี 1 วิตามินดี เหล็ก สังกะสี และแคลเซียม ซึ่งแนะนำให้บริโภคจากอาหารโดยตรง มากกว่าการรับประทานจากอาหารเสริมเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการดูดซึมยาได้ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
โดยสรุป การรักษาอาการของโรคพาร์กินสัน จะใช้ยาเป็นหลักควบคู่กับโภชนาการที่เหมาะสม สิ่งที่สำคัญคือ การหมั่นสังเกตอาการ ไม่ลืมทานยาหรือหยุดยาด้วยเอง รวมทั้ง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงของโรค นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอต่อร่างกาย ระวังช่วงเวลามื้ออาหารกับการทานโปรตีน เพิ่มกิจกรรมทางกายเพื่อลดอาการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดได้ แต่การตรวจคัดกรองความเสี่ยงและการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานขึ้น
ที่มารูป : danceflavors
New feature update: Stress-o-meter ระบบประเมินระดับความเครียด (Stress level) โดยวัดจาก Body movement and typing rhythms (only from smartphone) และประเมินโดยระบบ AI สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินระดับความเครียดของพนักงานในองค์กร เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและควบคุมความเครียดจากการทำงาน
Scheme (100): Stress level อยู่ในระดับน้อย ถึง ปานกลาง และทำกิจกรรมลดความเครียด อย่างน้อยวันละ 1 กิจกรรม
Guideline: ความเครียดสะสมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ลดความเครียดด้วยการนั่งสมาธิ การไปท่องเที่ยวพักผ่อน ดูหนังฟังเพลง การเล่นกีฬา หรือการไปสังสรรค์กับเพื่อน ฯลฯ
ความผิดปกติของระบบเผาผลาญพลังงานขณะพัก ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ง่าย
ในคนที่มีการใช้พลังงานขณะพัก (Resting Energy Expenditure: REE) ต่ำ จะทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้นหรืออ้วนได้ง่ายกว่าคนปกติ หรือที่รู้จักกันว่า “ระบบเผาผลาญเสื่อม” สาเหตุหลักมาจากความไม่สมดุลของการบริโภคและการใช้พลังงาน รวมทั้งองค์ประกอบสัดส่วนร่างกาย อาทิเช่น มวลกล้ามเนื้อ และมวลไขมัน ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ REE เปลี่ยนแปลงได้
การเผาผลาญพลังงานขณะพัก เป็นส่วนการใช้พลังงานมากที่สุดจากพลังงานทั้งหมดในหนึ่งวัน ที่ขับเคลื่อนการทำงานทั้งหมดของร่างกายตลอด 24 ชั่วโมง ซี่งประกอบไปด้วย 3 ส่วน
พื้นฐานการใช้พลังงานของร่างกายดูจาก BMR หรือ REE เป็นหลัก โดยสามารถวัดได้จากการใช้ออกซิเจนและการสร้างคาร์บอนไดอออกไซด์ของร่างกาย หรือคำนวณได้จากสูตร Harris-Benedict (1918) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเพศ น้ำหนักตัว ส่วนสูง และอายุ โดยคนส่วนใหญ่จะมีค่า BMR อยู่ระหว่าง 1,000 – 2,000
Female : BMR = 665.1 + (9.563 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (1.85 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (4.676 x อายุ)
Male : BMR = 66.47 + (13.75 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (5.003 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (6.755 x อายุ)
ค่า BMR หรือ REE บ่งบอกถึงพลังงานต่ำสุด หรือพลังงานที่เซลล์ร่างกายนำไปใช้งานและอยู่รอดได้ในหนึ่งวัน นั่นคือ พลังงานที่ใช้ในการหายใจและการใช้งานต่าง ๆ ของเซลล์ในร่างกาย รวมทั้ง ในขณะนอนหลับร่างกายก็มีการใช้พลังงานด้วยเช่นกัน
ระบบเผาผลาญเสื่อม (Abnormal REE) คือ ความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานขณะพัก หรือการใช้พลังงานพื้นฐานต่ำ เกิดจากความไม่สมดุลของการบริโภคและการใช้พลังงาน การบริโภคเกินกว่าที่ร่างกายนำไปใช้ได้ เกิดการสะสมในรูปของไขมัน ทำให้อ้วนได้ง่าย และทำให้ REE ลดลง ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของร่างกายเพื่อปกป้องการสูญเสียพลังงานที่มากเกินไป แต่ไม่ส่งผลดีมากนักเพราะเป็นการทำลายระบบการเผาผลาญนั่นเอง
การเผาผลาญพลังงานขณะพักที่ลดลง สามารถกระตุ้นในกลับมาสูงขึ้นได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปรับสมดุลการบริโภคและการใช้พลังงาน องค์ประกอบสัดส่วนร่างกายหลักที่กระตุ้นการเผาผลาญ คือ มวลกล้ามเนื้อ (Muscle หรือ lean mass) ยิ่งร่างกายมีมวลกล้ามเนื้อเยอะก็ยิ่งมีการใช้พลังงานขณะพักสูง สังเกตด้วยว่า การอดอาหารสามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ แต่การเผาผลาญพลังงานก็จะลดตามไปด้วย ส่วนการลดน้ำหนักที่เน้นทานผักผลไม้ น้ำหนักที่หายไปคือ มวลกล้ามเนื้อ ทำให้การเผาผลาญพลังงานลดลงเช่นกัน ดังนั้น การกระตุ้นระบบเผาผลาญขณะพักที่มีประสิทธิภาพคือ การควบคุมสมดุลพลังงานและสารอาหารหลัก และออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูการเผาผลาญขณะพักที่ผิดปกติไป
จากการศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานขณะพัก ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคอ้วน ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยลดปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันลง 500 kcal และเสริมโปรตีนหลังการออกกำลังกายระดับหนักอย่างน้อย 30 นาที 4-5 ครั้ง/สัปดาห์ (เสริมโปรตีนครั้งละ 20-25 กรัม แต่ไม่เกิน 1.6 กรัม x น้ำหนักตัว ต่อวัน) เพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าการเผาผลาญพลังงานขณะพัก (REE) สูงขึ้น และมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
โดยสรุป ความผิดปกติของการเผาผลาญพลังงานขณะพัก (REE) ที่ลดต่ำลง สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมที่สร้างความไม่สมดุลระหว่างพลังงานที่บริโภคและพลังงานที่ใช้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการอดอาหาร ความเครียด ฮอร์โมนที่ไม่สดุล การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ และพันธุกรรม ซึ่งก็เป็นปัจจัยที่ลดการเผาผลาญพลังงานพื้นฐาน ดังนั้น การกระตุ้นระบบเผาผลาญพลังงานให้สม่ำเสมอจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนที่พฤติกรรมการบริโภค และเน้นการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและลดมวลไขมัน ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวที่มากหรือน้อย
ที่มารูป : healthline
แพ้ถั่วปากอ้า G6PD โรคทางพันธุกรรมที่แอบแฝงอยู่ในเพศชาย และการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน
G6PD deficiency เป็นภาวะพร่องเอนไซม์ที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก พบในประชากร 400 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุหลักจากการกลายพันธุ์ของยีน ซึ่งปัจจุบันมีการกลายพันธุ์มากกว่า 100 ชนิด ส่วนใหญ่ไม่มีอาการตลอดชีวิต สำหรับประชากรชาวไทย ร้อยละ 12 พบในเพศชาย และร้อยละ 2 พบในเพศหญิง
G6PD เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และเป็นเอนไซม์หลักในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนกลูโคส-6-ฟอสเฟต ให้เป็น 6-ฟอสโฟกลูโคโนแลกโตน และเปลี่ยนฟอสเฟต NADP ให้เป็น NADPH จากนั้น NADPH จะเปลี่ยนกลูต้าไธโอน ให้อยู่ในรูปรีดิวซ์ ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อเซลล์ และป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย เนื่องจากในเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่มีไมโทคอนเดรีย จึงทำให้ไม่สามารถสร้าง NADPH ด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เอ็นไซม์ G6PD จึงมีความสำคัญกับเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นอย่างมาก
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (G6PD deficiency) ทำให้มี NADPH ไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนกลูต้าไธโอนให้อยู่ในรูปที่ใช้งานได้ เรียกว่า ภาวะ Oxidative stress ทำให้ไม่สามารถกำจัดสารอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ถ้ามีความรุนแรงมากจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้ไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายได้ทัน ผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD จะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ ปัสสาวะสีน้ำตาล ซีด และอาจมีอาการโลหิตจาง หรือมีอาการมากจนไตวายเฉียบพลันและทำให้เสียชีวิตได้ โดยปัจจัยกระตุ้นที่เป็นอันตรายต่อเม็ดเลือดแดงที่พบได้บ่อย คือ
G6PD deficiency เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติบนโครโมโซมเพศ X พบได้บ่อยในเพศชาย (XY) ส่วนเพศหญิง (XX) ส่วนใหญ่จะเป็นพาหะ โดยปกติ ผู้ป่วยพร่องเอนไซม์ G6PD มักไม่แสดงอาการใด ๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แต่เซลล์เม็ดเลือดแดงจะแตกได้ง่ายเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น (ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น)
การตรวจและการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
Gender | <4.0 IU/gHb | 4.0-6.0 IU/gHb | >6.0 IU/gHb |
Male | Deficiency | Normal | Normal |
Female | Deficiency | Deficiency | Normal |
องค์การอนามัยโลกแบ่งกลุ่มระดับการพร่องเอ็นไซม์ G6PD ออกเป็น 5 กลุ่ม
Classification | % of normal G6PD activity | Label |
Class I | < 10% +โลหิตจางเรื้อรัง | รุนแรงมาก |
Class II | < 10% | รุนแรง |
Class III | 10-60% | ปานกลาง |
Class IV | 60-150% | น้อยมาก/ปกติ |
Class V | Increase enzyme (มากกว่าปกติ 2 เท่า) | ปกติ |
ปัจจุบันเริ่มมีการตรวจเอนไซม์ G6PD ในทารกมากขึ้น โดยเฉพาะในทารกที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (ภายใน 24-72 ชั่วโมง หลังคลอด) อาการทางคลินิกเบื้องต้น เช่น โรคดีซ่านในทารกแรกเกิด โรคโลหิตจาง เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน กรณีผู้ใหญ่ที่ไม่ทราบมาก่อน หรือสงสัยว่ามีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หรือไม่ สามารถสังเกตอาการได้โดยดูจาก อาการซีด รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีไข้ หลังจากได้รับสิ่งกระตุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีอาการปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีโคล่า (ซึ่งเป็นสีของฮีโมโกลบินที่ได้จากเม็ดเลือดแดงที่แตกในหลอดเลือดและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ) ควรรีบพบแพทย์
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดได้ เนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรม แต่ไม่ใช่โรครุนแรงขึ้นอยู่กับกลุ่ม (Class) และความรุนแรงของโรค สามารถป้องกันการเกิดอาการได้จากการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา สารเคมี รวมทั้ง สามารถรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อช่วยลดอาการของโรคได้ อาทิเช่น ผักและผลไม้หลากสี เช่น ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ แครอท มะเขือเทศ บร็อคโคลี่ ผักใบเขียว ชาเขียว กระเทียม และหอมใหญ่ ส่วนการใช้วิตามินเอ บี ซี สังกะสี และไลโคปีน ในรูปแบบอาหารเสริมไม่ควรบริโภคเกินปริมาณที่แนะนำ นอกจากนี้ การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดสิ่งกระตุ้น และเมื่อพบว่าร่างกายมีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาลให้ทราบทุกครั้งที่ใช้บริการสถานพยาบาล