Eat Score

Eat Score เครื่องมือวัดคุณภาพการกิน (เต็ม 100)
• มากกว่า 80 -> Good diet
• 51 ถึง 80 -> Need dietary improvement
• น้อยกว่า 51 -> Poor

” โหลดแอพฯ KinYooDee ”

กินอยู่ดี แพลฟอร์ม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี
#กินอยู่ดี #EatScore #DietScore

App2022

Our KinYooDee App Development 2022 – Eat and Live Well

#Shop

ซื้อสินค้าเกษตร ผักสด ผลไม้ #ของสด อาหาร สินค้าเพื่อสุขภาพ จากเครือข่ายเกษตรกร บริหาร Food Supply Chain ผ่านศูนย์กระจายสินค้าชุมชน DC Platform

#Groupbuy

รวมกลุ่มกันซื้อประหยัดกว่า

#Sameday

จัดส่งสินค้าภายใน 1 วัน ภายในพื้นทีให้บริการ ผ่านตู้ล็อกเกอร์แช่เย็น #FreshBOX ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ

#Subscribe

เพิ่มความสะดวกสบาย และได้สินค้าในราคาที่คุ้มค่าสำหรับสมาชิก

#Wallet

กระเป๋าเงินในรูปแบบ Utility token (เหรียญปลานิล) เฉพาะกลุ่มสมาชิกและพันธมิตรทางธุรกิจ Consortium Blockchain

#FoodLog

บันทึกสุขภาพ #นับแคล ข้อมูลสารอาหาร กิจกรรม #EatScore ภาวะสุขภาพ

#Nutrition

ข้อมูลโภชนาการเฉพาะบุคคล DNA-based diet

#SmartMobility

ผู้ช่วยการเดินทางอัจฉริยะ

#AIScan

Eating Index

ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
 
ความพยายามของระบบสาธารณสุขทั่วโลก ต้องการให้ประชาชนในประเทศมีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการรับประทานอาหาร และได้สร้างเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยแนะนำและประเมินการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาทิเช่น อาหารหลัก 5 หมู่ Food Pyramid, Dash Diet, Recommended Food Score (RFS), Mediterranean Diet Score (MDS), Healthy Diet Indicator (HDI), Health Eating Index (HEI) และ MyPlate เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกตัวชี้วัดจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ ความครบถ้วนของสารอาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน รวมทั้ง สัดส่วนระหว่างการบริโภคเนื้อสัตว์และผักผลไม้ที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีรายละเอียดของสารอาหารและปริมาณที่แนะนำในการบริโภค และวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานแตกต่างกันไป
 
ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ที่น่าสนใจคือ HEI ที่ถูกพัฒนาโดยศูนย์นโยบายและส่งเสริมด้านโภชนาการ ประเทศสหรัฐอเมริกา และถูกนำมาพัฒนาต่อยอดโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีชื่อว่า Alternative Healthy Eating Index (AHEI2010) ซึ่งเป็นดัชนีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดคุณภาพของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่ดี และการช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเรื้อรัง (Chronic diseases) โดยผลงานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า AHEI และการเกิดโรคเรื้อรัง อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด (CVD) โรคหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็งบางชนิด ฯลฯ มีความสัมพันธ์กันมาก อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลจากงานวิจัยยังสามารถนำมาใช้ในการคาดการณ์ความเสี่ยงและใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการกำหนดนโยบายด้านสาธารณะสุขที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การพัฒนาตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ตามแนวทางของ AHEI2010 แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 10 ข้อด้วยกัน โดยแต่ละข้อมีคะแนนเต็ม 10 และมีคะแนนรวม 100 คะแนน โดยที่
• คะแนน มากกว่า 80 หมายถึง Good diet
• คะแนน ระหว่าง 51 – 80 หมายถึง Need dietary improvement และ
• คะแนน น้อยกว่า 51 หมายถึง Poor
Dietary Score
* [ ] คือปริมาณที่บริโภคในแต่ละวัน [0] หมายถึง ไม่ได้รับประทาน
 
1. Whole fruit: [0] = 0 คะแนน, [>= 4 servings/d] = 10 คะแนน
2. Sugar-sweeten beverages & fruit juice: [>=8 oz/d] = 0, [0] = 10
3. Total vegetables: [0] = 0, [>=2.5 cups/d] = 10
4. Whole grains: [0] = 0, [Women [75g/d], Men [90g/d] = 10
5. Nuts and legumes: [0] = 0, [>=1 oz/d] = 10
6. Red and/or processed meat: [>=1.5 servings/d] = 0, [0] = 10
7. Long-chain w-3 fats: [0] = 0, [>=250 mg/d] = 10
8. PUFAs: [<=5 g/d] =0, [>=23 g/d] = 10
9. Sodium: [>2300 mg/d] = 0, [1500-2300 mg/d] = 10
10. Alcohol: [Women 0 or >=2.5 drinks/d, Men [0 or >=3.5 drinks/d} = 0, [Women [0.5 – 1.5 drinks/d, Men [0.5 – 2.0 drinks/d] = 10
 
เตรียมพบกับ #ตัวชี้วัดในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ Healthy Eating Index หรือ #การประเมินภาวะโภชนาการ (การประเมินอาหารบริโภค) Dietary assessment โดยผ่านแอพ #KinYooDee เร็ว ๆ นี้ !!!
 
KinYooDee – Eat and Live Well เป็นการรีแบรนด์แอพ iOrderFresh by iOrder เดิม เพื่อให้ภาพลักษณ์แบรนด์มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ครอบคลุมการกินดี อยู่ดี
Source: AHEI2010, Photo: Forbes Eating Healthier

Checkup

จากการเริ่มต้นมีสุขภาพที่ดี ตั้งเป้าหมาย ลดน้ำหนัก นับแคล ควบคุมสารอาหาร ตรวจวัดสุขภาพ ให้ iOrder – FoodLog ช่วยดูแลสุขภาพคุณ แอปพลิเคชัน Android และ iOS

Global Partnership

เจรจาความร่วมมือระหว่าง กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม และ NAVER Cloud ประเทศเกาหลีใต้ ภายใต้โครงการ Global Partnership Programe
โดยมุ่งเน้นความร่วมมือทางด้าน Healthcare service และ Medical AI อาทิเช่น FoodLens บันทึกเมนูอาหารและสารอาหารจากรูปถ่าย ichrogene วิเคราะห์ข้อมูลจากดีเอ็นเอ Lunit วินิจฉัยโรคแบบแม่นยำ FeverCoach โมบายแอพ สำหรับการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ในเด็ก และ VUNO โซลูชัน Medical AI devices and imaging

FoodAI

ระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับหาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารและข้อมูลสุขภาพ ช่วยในการระบุว่าสารอาหารใดที่มีส่งผลต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลี่ยงหลีกหรือระวังการบริโภคที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และช่วยให้คำแนะนำทางด้านโภชนาการในการเลือกรับประทานอาหาร ระบบใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network: ANN) ในการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ โดยมีข้อมูลสุขภาพ สารอาหารที่ได้รับ และภาวะสุขภาพต่าง ๆ เป็นข้อมูลขาเข้า และมีค่าการวัดสุขภาพเป็นข้อมูลขาออก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1) Generic Model เป็นโมเดลที่ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากผู้ใช้งานทั้งหมดในระบบมาประมวลผล เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ค่าการวัดสุขภาพเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ข้อมูลสุขภาพ ทั้งส่วนของข้อมูลทั่วไป ข้อมูลภาวะสุขภาพ และข้อมูลปริมาณสารอาหารที่ได้จากการบริโภคในแต่ละวัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกใช้เป็นข้อมูลขาเข้า และใช้ค่าการวัดทางสุขภาพเป็นข้อมูลขาออกหรือเป้าหมาย (Target) ในการประมวลผลของแบบจำลอง ANN

2) Personalized Model เป็นโมเดลที่ใช้ข้อมูลแต่ละบุคคลมาประมวลผล เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารและค่าการวัดสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นโมเดลที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาว่า การใช้งานของโมเดลกลางนั้น เป็นข้อมูลของบุคคลหลายคน ทำให้ไม่สามารถที่จะหาค่าความสัมพันธ์ที่เป็นเฉพาะของบุคคลได้ เนื่องจากการประมวลผลจะถูกทำให้เป็นค่ากลางโดยข้อมูลของบุคคลอื่น ๆ ซึ่งโมเดลเฉพาะบุคคลจะมีความแตกต่างของจากโมเดลกลางในส่วนของข้อมูลขาเข้า หรือจำนวนตัวแปรของข้อมูลเข้าขาก็จะแตกต่างกัน ซึ่งในโมเดลเฉพาะบุคคลนั้น ข้อมูลขาเข้าจะมีเพียงข้อมูลสารอาหารที่บริโภค เนื่องจากโมเดลเฉพาะบุคคลจะใช้ชุดข้อมูลของบุคคลเดียว ทำให้ไม่มีความแตกต่างกันในส่วนของข้อมูลสุขภาพและภาวะสุขภาพ จึงตัดข้อมูลในส่วนนี้ออก ซึ่งจะทำให้ส่วนของการประมวลใช้เวลาในการประมวลผลสั้นลง ผู้ใช้งานสามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีการบันทึกข้อมูลการบริโภคและค่าการวัดสุขภาพอย่างน้อยจำนวน 30 วัน

Calorie

แอพนับแคลอรี่ (Calories) บันทึกข้อมูลการบริโภคและปริมาณสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน บันทึกปริมาณแคลอรี่ โปรแกรมคำนวณแคลอรี่ เพื่อให้ผู้ใช้งานควบคุมการบริโภค รวมทั้งแนะนำโภชนการเฉพาะบุคคล โดยจะแบ่งการใช้งานออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

    • สรุปปริมาณสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
    • รายการอาหารที่รับประทานและการเพิ่มอาหารแต่ละมื้อ
    • แนวโน้มการได้รับสารอาหาร 7 วันหลังสุด
    • ประวัติการได้รับสารอาหาร รายสัปดาห์ และรายเดือน

นอกจากนี้ ระบบยังมีส่วนของการบันทึกค่าการวัดสุขภาพ อาทิเช่น น้ำหนัก อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อช่วยศูนย์ดูแลสุขภาพ ศูนย์ฟิตเนสและความงาม โรงพยาบาล คลินิก บันทึกข้อมูลการบริโภคอาหารสำหรับผู้รับการดูแล (ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ บุคคลทั่วไป โดยตั้งค่าการแชร์ข้อมูลระหว่างบุคคลและศูนย์ดูแลสุขภาพต่าง ๆ) เพื่อให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพวินิจฉัยและให้คำแนะนำ

weSAFE@Home

ที่สุดของความภาคภูมิใจของเรา ….. กว่า 60 โรงพยายาล ใน 11 จังหวัดทั่วประเทศที่ใช้งานระบบ weSAFE@Home ในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน”กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม” https://www.kin-yoo-dee.com/wesafe-home

Ecosystem

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เข้าเยี่ยมชม กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม Kin-Yoo-Dee Ecosystem Platform _ Oct 6, 2021

Food Supply

ขอขอบคุณโรงพยาบาลพนัสนิคม ชลบุรี ที่มอบความไว้ใจให้ ไอออเดอร์เฟชร จัดส่งวัตถุดิบอาหารสำหรับผู้ป่วย แพลตฟอร์มศูนย์กระจายสินค้าชุมชนของเรา iOrderDC จะเชื่อมโยงวัตถุดิบเกษตร-อาหาร จากฟาร์มสู่เมือง ช่วยเหลือเกษตรกรผ่านเครือข่าย farmFresh by iOrderFresh – Trusted Supply Network ในการสร้างความต้องการของสินค้าเกษตร-อาหารให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง