Osteoarthritis & preventive healthcare

โรคข้อเสื่อม และการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน

องค์การอนามัยโลกชี้ ไทยสถิติพุ่ง … เข่าเสื่อม ร้อยละ 70 ในผู้สูงอายุ ปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในคนไทย มากกว่า 6 ล้านคน – โรคข้อเสื่อม หรือข้อกระดูกอ่อนเสื่อม (Osteoarthritis) คือ โรคที่เกิดจากกระดูกอ่อนที่อยู่บริเวณส่วนปลายของกระดูก เนื้อเยื่อระหว่างข้อต่อกระดูกเกิดการผุกร่อน หรือแตกร้าวออกมา ที่บริเวณปลายของกระดูกที่เป็นส่วนประกอบของข้อจะมีกระดูกอ่อน (Cartilage) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำหรือกันชน ช่วยลดการเสียดสีของกระดูกในขณะเคลื่อนไหวของข้อ ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมจะพบว่า กระดูกอ่อนนี้มีปริมาณน้ำ (Synovial fluid) ลดลง กระดูกอ่อนเสื่อมและผุกร่อน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดและบวมของข้อ มักเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 50 ปี ขึ้นไป

สาเหตุที่ทำให้ข้อเช่าเสื่อม ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนักตัว พฤติกรรม (กิจกรรม) และพันธุกรรม โดยจะสังเกตเห็นว่า น้ำหนักตัว รวมทั้ง เพศ (หญิง) เป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 3 – 4 เท่า และมีแนวโน้มที่รุนแรงกว่า เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตนเจนในวัยหมดประจำเดือน ทำให้สูญเสียแคลเซียมและคอลลาเจน เกิดสภาวะกระดูกพรุนและกระดูกอ่อนเสื่อม นอกจากนี้ ปัจจัยจากพันธุกรรมมากถึง 40 – 60% ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม จะได้รับกรรมพันธุ์จากทางพ่อและแม่ จากผลการวิจัยพบว่า มียีนจำนวนหลายตัว อาทิเช่น TIMP2 COL9A1 และ IL6R ที่แสดงบทบาทสำคัญในผลิตคอลลาเจน กระดูกอ่อน (Cartilage) และอินเตอร์ลิวคิน (Interleukin) เมื่อพบการกลายพันธุ์ในบางตำแหน่งของยีนดังกล่าว จะส่งผลให้มีโอกาสในการเกิดโรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุนได้มากกว่าคนทั่วไป

การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เริ่มต้นจากการตระหนักถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคข้อเสื่อม เพื่อชะลอหรือลดระดับความเสี่ยงก่อนการเกิดโรค การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึง การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กระดูกและข้อเข่า การได้รับแคลเซียม (จากอาหาร) และวิตามินดี (จากแสงแดด) อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หญิงวัยหมดประจำเดือนควรชดเชยฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วยการรับประทานเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogens) ซึ่งพบมากในเมล็ดแฟลกซ์ ถั่วเหลือง งา ธัญพืช ผักใบเขียว บร็อกโคลี่ ผักเคล กระเทียม นอกจากนี้ จากผลการวิจัยยังพบว่า สารอาหารในกลุ่มปกป้องกระดูกอ่อนและป้องกันการอักเสบตามธรรมชาติ (Chondroprotective nutrients) ซึ่งพบมากใน ชาเขียว ผลกุหลาบป่า (Rose hips) ขิง ขมิ้น และทับทิม สามารถช่วยชะลอการพัฒนาของโรคข้อเสื่อม ช่วยรักษาสมดุลเมตะบอลิซึมของสารชีวโมเลกุลภายในกระดูกอ่อน (Cartilage) กระตุ้นให้ร่างกายมีการซ่อมแซมกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อให้กลับสู่ปกติ

นอกจากการดูแลเชิงป้องกันด้านโภชนาการแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกและข้อ เมื่อออกกำลังกาย กลไกในร่างกายจะช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อซินโนเวียล (Synovial membrane) ผลิตน้ำหล่อลื่นข้อ (Synovial fluid) ออกมามากขึ้น เพื่อเป็นการปกป้องการเสียดสีของกระดูกข้อต่อและช่วยในการเคลื่อนไหวให้ราบรื่น ในทางตรงกันข้าม การไม่ออกกำลังกาย จะทำให้น้ำหล่อลื่น Synovial fluid ถูกผลิตออกมาน้อยลง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเสื่อมสูงขึ้น นอกจากนี้ สังเกตด้วยว่า การออกกำลังกายเพื่อชะลอหรือลดระดับความเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม ควรเป็นการออกกำลังกายที่เน้นกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่น่องขา (Thigh) เพราะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยรับน้ำหนักตัวก่อนถ่ายแรงกดต่อข้อเข่า อาทิเช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน แอโรบิค โยคะ การเล่นเวท รวมทั้ง การเดิน และวิ่ง Jogging

ที่มารูป: Harvard Health

Alzheimer’s & preventive healthcare

โรคอัลไซเมอร์ กับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน

คำบอกจากแม่ กินปลาแล้วฉลาด นั้นอาจจะถูกต้องแล้ว – เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐได้รายงานผลการศึกษาโดยใช้อาสาสมัครจำนวน 7,750 คน และติดตามผลการศึกษาเป็นระยะ 5 – 10 ปี พบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานปลา เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด (รองลงมาคือ อาหารจำพวกผัก) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อม และควรรับประทานปลาในมื้ออาหาร จำนวนหลาย ๆ ครั้งต่อสัปดาห์

แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์ มักจะเกิดกับคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเสื่อมของสมองได้เกิดขึ้นหลายปีก่อนหน้านั้น สิ่งที่ทำให้โรคอัลไซเมอร์รักษายากเป็นเพราะมันแสดงอาการช้า โรคนี้จะสร้างความเสียหายแก่สมองเป็นเวลากว่า 10 ปีก่อนที่จะเริ่มแสดงอาการ นอกจากนี้ จากสถิติทั่วโลกยังพบว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะเสียชีวิตหลังเป็นเฉลี่ยประมาณ 7-10 ปี ดังนั้น การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากล ระบุว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์สามารถป้องกันได้ หากคนเราหันมาดูแลสมองกันมากขึ้น

การออกกำลังกายสมอง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน

    • การฝึกสมองในด้าน ความทรงจำ (Memory)
    • การฝึกสมองในด้าน การใช้เหตุผล (Reasoning)
    • การฝึกสมองในด้าน ความเร็วในการคิด (Speed of processing information)

การฝึกการใช้สมองในแต่ละด้านนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่สำคัญ คือ การฝึกให้สมอง Active อยู่ตลอด และฝึกใช้สมองในเรื่องที่ท้าทาย โดยอาจเริ่มจากการฝึกใช้สมองในรูปแบบการทำงานย้อนกลับ (Backward activity) ง่าย ๆ ยกตัวอย่างเช่น ใช้มือที่ไม่ถนัดจับช้อนรับประทานอาหาร ใช้เม้าส์หรือทัชแพดบนโน้ตบุ๊คโดยใช้มือที่ไม่ถนัด ใส่นาฬิกาข้อมือสลับข้าง และการเดินหรือวิ่งถอยหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ การลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม ยังสามารถทำได้โดยการฝึกสมองในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น

    • การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาทิ การเล่นดนตรี กีฬา หรือเรียนรู้ภาษาใหม่
    • การเล่นเกมที่ถูกออกแบบมาสำหรับการฝึกสมอง เช่น Lumosity และเกมที่มีผู้เล่นหลายคน
    • การเล่นต่อคำ ต่อภาพ Puzzles ในรูปแบบต่าง ๆ
    • การเขียนชุดคำสั่ง หรือป้อนคำสั่งคอมพิวเตอร์ในรูปโค้ด (Coding)
    • การเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแกร่งของสมอง

การกระตุ้นให้สมองเกิดการใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอและฝึกฝนในเรื่องท้าทาย จะช่วยลดความเสื่อมของเซลล์สมอง สร้างเซลล์สมองขึ้นมาใหม่ และช่วยการทำงานของเซลล์สมองให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ดีต่อสุขภาพหัวใจก็ดีต่อสมองด้วย – การออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่สมองได้มากขึ้น ซึ่งช่วยในด้านความทรงจำและทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้นด้วย รวมทั้งยังช่วยลดความเครียดและช่วยปรับฮอร์โมนต่าง ๆ ของร่างกายให้สมดุล และจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมได้มากถึง 30%

การตรวจโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์

นอกจากผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอาการป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมที่แสดงอาการค่อนข้างชัดเจนแล้ว ปัจจุบัน มีวิธีการตรวจโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1) การตรวจดีเอ็นเอ เพื่อใช้ประเมินระดับความเสี่ยง วางแผนการป้องกัน ความถี่ในการตรวจคัดกรอง การเฝ้าระวัง และการแนะนําการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน หากพบว่ามีการกลายพันธุ์ในบางตำแหน่ง เช่น rs7412  และ rs63750730 ในยีน APOE ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง Apolipoprotein E จะมีความเสี่ยงให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งอัลไซเมอร์เป็นกรรมพันธุ์ที่มีการถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่มีการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมนี้จะเกิดโรคทั้งหมด เนื่องจากยังมีปัจจัยเชิงพฤติกรรม (Lifestyle) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของสมองได้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟู การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ระยะเวลานอนหลับลึกน้อยกว่า 4-5 ชั่วโมงต่อวัน โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคอ้วน และโรคเบาหวาน (Type2 diabetes) จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป

2) การตรวจวัดเบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ในเลือด ซึ่งเป็นคราบเหนียวของโปรตีนที่ผิดปกติ (Amyloid plaques) ที่ไปเกาะอยู่บนเซลล์ประสาทของสมองและทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ชุดตรวจโรคอัลไซเมอร์ด้วยเลือดชนิดนี้ จะช่วยในการคัดกรองผู้คนเพื่อตรวจหาโรคได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวยังต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและมีราคาแพง มีใช้เฉพาะโรงพยาบาลใหญ่เท่านั้น และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และแปลผล

3) การทำเพทสแกน (PET scan) หรือการสแกนด้วยรังสีเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางสมอง และการเจาะน้ำไขสันหลัง (Spinal tap) เพื่อตรวจดูภาวะผิดปกติของโรคอัลไซเมอร์ที่มีความแม่นยำมากกว่า แต่ค่าใช้จ่ายสูง และมีความเจ็บปวด

ยารักษาโรคอัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ ถูกค้นพบเมื่อปี 1906 เป็นโรคอย่างหนึ่งที่มีการทำลายเซลล์สมองไปเรื่อย ๆ มีอุบัติการณ์ตามอายุที่มากขึ้น ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษา แต่มีการรักษาที่สามารถชะลอการลุกลามของโรค

ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ตัวใหม่ – ในเดือน กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ  ได้อนุมัติการใช้ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ทีมีชื่อว่า “Leqembi” ซึ่งเป็นยากลุ่ม “เลเคนเนแมป” (Lecanemab) เป็นแอนติบอดีที่ออกแบบมาเพื่อกำจัดคราบเหนียวของโปรตีนพิษ (Amyloid plaques) ด้วยการผูกแอนติบอดีเทียมเข้ากับตัวโปรตีน และผู้ป่วยต้องใช้ยานี้ในทุกสองสัปดาห์โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำ อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าว ยังคงมีราคาสูงซึ่งประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อปี รวมทั้ง ยังถูกอนุญาตให้ใช้เฉพาะผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมเพียงเล็กน้อย ที่ได้รับการยืนยันว่ามีโปรตีนอะไมลอยด์ในสมอง เท่านั้น รวมทั้งยังเป็นเพียงยาชะลออาการความจำเสื่อมของสมอง ยังไม่ใช่วิธีรักษาให้หายขาดได้

ที่มารูป : Psycompro

DNA healthcare

DNA Healthcare by KinYooDee Genomics ชุดตรวจดีเอ็นเอ ที่ถูกออกแบบและพัฒนาเป็นพิเศษสำหรับคนไทย เพื่อการดูแลสุภาพเชิงป้องกัน – จากข้อมูลทางสถิติพบว่า 45% ของค่ารักษาพยาบาล หมดไปกับโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ชุดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากกระพุ้งแก้ม ตรวจพันธุกรรมเพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 11 รายการ
    • Parkinson (พาร์กินสัน)
    • Alzheimer (อัลไซเมอร์)
    • Coronary artery disease (หลอดเลือดหัวใจตีบ)
    • Hypertension (ความดันโลหิตสูง)
    • Stroke (หลอดเลือดสมอง)
    • Thrombophilia (ลิ่มเลือดอุดตัน)
    • G6PD deficiency (พร่องเอนไซม์ G6PD เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ภาวะโลหิตจาง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย)
    • Type-2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2)
    • Kidney disease (ไตบกพร่อง)
    • Osteoarthritis (ข้อเสื่อม)
    • Insomnia (นอนไม่หลับ)

Microbiome report

ตัวอย่างผลตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้มากกว่า 300 สายพันธุ์ ในแอปพลิเคชัน KinYooDee ดัชนีชี้วัดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Dysbiosys index) จุลินทรีย์กลุ่มไหน ตัวไหนขาด-เกิน มาก-น้อย ความสำคัญของจุลินทรีย์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ (Gut health) การดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ชุดตรวจ CE/IVD certified

Playground day

KinYooDee Playground Day แพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร Product highlight showcases, case study seminar and hands-on workshop, June 26, 2023 @EastPark BUU

Sustainable energy

Industry and lab visit: เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ Water battery storage พลังงานลม (Wind farm) ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา กฟผ. ต้นแบบระบบจัดเก็บพลังงานไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืน สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรและภาคการขนส่ง

Virtual PGxCard

บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงข้อมูลการแพ้ยาและการปรับขนาดยาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการคัดกรอง การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และการรักษาผู้ป่วย References: Pharmaco-genotyping and dosing follows CPIC/DPWG guidelines > Aldy: star-allele, e.g. CYP2D6 > HLA: HiSAT genotype/MaxSAT2

Drinkable dishwasher

Factory and Lab Visit เข้ายี่ยมชมโรงงานผลิตอาหาร ริมดอยการเกษตร ผลิตน้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำจิ้มสุกี้ เครื่องปรุงรส OME ให้กับแบรนด์ชั้นนำมากมาย … บริษัทฯ ได้ให้ความอนุเคราะห์ เศษวัตถุดิบสับปะรด เพื่อนำมาใช้ในโครงการวิจัย น้ำยาล้างจาน “ดื่มได้” โดยนำเศษสับปะรดมาหมักเพื่อให้เป็นอาหารแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ (ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ) กินเป็นอาหารและผลิตสาร Biosurfactant เพื่อใช้ ในกระบวนการผลิต “น้ำยาล้างจานดื่มได้” จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ Bio-molecular ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ม.บูรพา เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าสินค้า ให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

Decoding the gut universe

Joined academic conference “Decoding the gut universe, unveiling secret of health we never know” เทคโนโลยีการตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และความหลากหลายของจุลินทรีย์ Organized by Hausen Bernstein, June 8, 2023 @ Eastin Grand Hotel Sathorn Bangkok

KinYooDee playground

Kin-Yoo-Dee Platform Playground Day สัมผัสแพลตฟอร์มทางด้านสุขภาพแะการแพทย์แบบครบวงจร @ East Science Park, June 26, 2023