Biomass power plant

รองศาสตราจารย์ ดร.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา และประธานที่ปรึกษา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม (วิสาหกิจเพื่อสังคม) เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass power plant) ขนาด 9.6 เมกกะวัตต์ บริษัท กรีน พาวเวอร์ 2 ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นชีวมวล หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น จากเปลือกไม้ยูคาลิปตัส ไม้ผสม ทะลายปาล์ม ใยปาล์ม เหง้ามัน ใบอ้อย ฯลฯ Key Success Factors ของโรงไฟฟ้าชีวมวล ขึ้นอยู่กับการบริหารซัพพลายเชน ฝ่ายจัดหา/จัดซื้อวัตถุดิบที่เป็นชีวมวลหรือของเหลือทางการเกษตรฯ (Feed stock) ป้อนเข้าสู่โรงงาน ในปริมาณ 200 – 300 ตัน ต่อวัน เพื่อผลิตไฟ้ฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง 24/7 รวมทั้ง การบริหารส่วนต่างราคา (กำไร) ของ Feed stock ที่รวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ Stakeholders ในซัพพลายเชน ได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารต้นทุนการขนส่ง จากแหล่ง Feed stock เข้าสู่โรงงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตไฟฟ้า และส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทโดยตรง บริษัทฯ ได้จำหน่ายไฟฟ้าตามสัญญาการขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Very Small Power Producer (VSPP ขนาดต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์), Feed-in Tariff (Fit) ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตลอดอายุสัญญา 15 ปี

Sorghum BCG

รองศาสตราจารย์ ดร. ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์ ม.บูรพา และประธานที่ปรึกษา กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ขับเคลื่อนโครงการสำคัญ “ต้นแบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG ข้าวฟ่าง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร พลังงานหมุนเวียนโรงไฟฟ้าไบโอก๊าซ และเอทานอล กลับคืนสู่ปุ๋ยชีวภาพ” ซึ่งเป็นแนวคิดการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้ ข้าวฟ่าง เป็นต้นแบบ ซึ่งจะช่วยปลูกฝังแนวคิดเศรษฐกิจ BCG และนำไปขยายผล หรือปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่และชุมชน เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ได้ความอนุเคราะห์จาก บริษัท เอี่ยมบูรพา จำกัด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีพื้นที่โรงงานและเกษตรครบวงจรกว่า 3 พันไร่ อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) และไฟฟ้าจากของเหลือทิ้งจากการผลิตฯ รวมทั้ง โรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลัง

“ข้าวฟ่าง” พืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูง ในการเพาะปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง ต้องการน้ำน้อย ทนต่อสภาพแวดล้อม (เช่น พื้นที่ดินส่วนใหญ่ในจังหวัดสระแก้ว) และให้ผลผลิตต่อไรสูง การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของพืช ข้าวฟ่าง เริ่มจากกระบวนการเพาะปลูกและแปรแปรรูปเมล็ดข้าวฟ่าง สู่ผลิตภัณฑ์อัตตาลักษณ์ท้องถิ่น อาทิเช่น มอลต์ข้าวฟ่าง (Sorghum malt) และเครื่องดื่มสันทนาการ ปราศจากกลูเตน (Gluten free) จากนั้น ใช้ส่วนของลำต้น สร้างธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ไบโอเอทานอล และไฟฟ้าจากก๊าชชีวภาพที่เกิดจากกระบวนการหมักลำต้นที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปแล้ว และกากที่เหลือจากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ สามารถนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดิน (ปุ๋ยชีวภาพ)