Food Image Recognition

KinYooDee FoodLens – Food Image Recognition โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

    1. เพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกขั้นตอน Food logging – ถ่ายรูปจากโทรศัพท์ หรือผ่านแว่นตาอัจฉริยะ
    2. แจ้งเตือนอาหารที่ส่งผลดีและ/หรือผลเสียต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล
    3. รายงานปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยทานเหลือ ใน รพ./ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
    4. ช่วยร้านอาหารและครัวโรงแรม บริหารสต็อกวัตถุดิบอัตโนมัติ และ
    5. จัดทำฐานข้อมูล พืชอาหารและสมุนไพร (อนุรักษ์พันธุ์พืช)

KYD Online Counseling

อีกหนึ่ง Jigsaw ในระบบนิเวศของเรา KYD Online Counseling แพลตฟอร์มการให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพสำหรับบุคคลากรในองค์กร – Counselor กับ Patient พบกันในแพลตฟอร์ม Anywhere, Anytime, Any devices > ตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคผ่านระบบ Health-Risk Screening, Medical AI, Smart Healthcare/Device >> สั่งจ่ายยาและเวชภัณฑ์ผ่าน KinYooDee Logistics และ SmartLocker ของเรา – ที่ปรึกษาด้านพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor)

    • นักกำหนดอาหาร (Dietitian)
    • นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist)
    • นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychologist)
    • นักโภชนาการ (Nutritionist)
    • นักวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sport Scientist)
    • ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ (Wellness Counselor)

*ผู้ที่สนใจเป็นผู้ให้คำปรึกษา สามารถลงทะเบียนได้ ที่นี่

Health Score

คะแนนสุขภาพ เก็บสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล ง่าย ๆ เพียงแค่คลิก … ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้สุขภาพดีกับเรา แอปพลิเคชันในการประเมินและส่งเสริมสุขภาพองค์รวม {Food, Activity, Sleep, Stress, Clean Air, Checkup} Download our Supper Apps #KinYooDee

Home > Activivity Log > HealthScore > HealthPoint > Redeem

ชุดตรวจ Cancer DNA

อย่ารอจน … สายเกินไป

คัดกรองความเสี่ยงในเกิดโรคมะเร็ง ที่อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม หรือยีนในร่างกายที่ทำงานผิดปกติ เพื่อการรักษาและป้องกันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น !

วิเคราะห์ผลจากชุดเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากกระพุ้งแก้ม ตรวจเฉพาะยีนมะเร็งตามรายการ 11 ประเภท ซ้ำ 100 ครั้ง (100X) เพื่อเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำ หากท่านตรวจพบยีนและการกลายพันธุ์ของโรคมะเร็งบางประเภท เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ศาสตร์หรือแพทย์เฉพาะทางให้คำปรึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ ที่จำเป็นให้ทราบโดยละเอียด ผ่านระบบ KinYooDee TeleHealth

สั่งซื้อชุดตรวจ on our Apps

KinYooDee

Nutrition DNA

ชุดตรวจ Nutrition DNA จากกระพุ้งแก้ม (Buccal swap) – เผยความลับความสัมพันธ์ระหว่างดีเอ็นเอและอาหารเฉพาะบุคคลเพื่อการรักษาและดูแลสุขภาพแบบแม่นยำ

สั่งซื้อชุดตรวจ on our Apps

KinYooDee

Nutrition DNA Test

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กินอยู่ดี แพลตฟอร์ม พัฒนาโครงการ “การพัฒนานวัตกรรมโภชนพันธุศาสตร์บนแพลตฟอร์มกินอยู่ดี” โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ในโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานผลการทดสอบโภชนพันธุศาสตร์ (DNA test for nutrition and diet) บนแพลตฟอร์มกินอยู่ดี ศึกษาประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างเพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพตนเอง รวมทั้ง การประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันกินอยู่ดี – KinYooDee App เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมสุขภาพสำหรับประชากรไทย

ที่มารูป : wellnessdoctorrx

Nutrigenomics

โภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) เป็นการศึกษาปฏิกิริยาความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารกับลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งอาศัยการตรวจดีเอ็นเอในตำแหน่งต่าง  ๆ ในการตอบสนองของร่างกายต่อสารอาหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการโภชนาการอาหาร การวางแผนการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพองค์รวม หัวข้อด้านล่างเป็นตัวอย่างการทดสอบพันธุกรรม ที่อาจมีอิทธิพลต่อสารอาหารของแต่ละบุคคล และ เหตุผลว่าทำไม ? การตรวจโภชนพันธุศาสตร์ จึงมีความสำคัญ

  • การตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ (Alcohol Flush)

การแพ้แอลกอฮอล์ นอกจากจะทำให้เกิดอาการหน้าแดงหรือมีผื่นขึ้นที่ตามลำตัวแล้ว ผู้ดื่มแอลกอฮอล์อาจจะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ และง่วงนอน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่ไม่สามารถจัดการสารอะซิทัลดีไฮด์ที่มีอยู่ในแอลกอฮอล์เมื่อเข้าสู่ร่างกายได้เร็วเท่าที่ควร หากท่านมีพันธุกรรมนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณการบริโภค เนื่องจากอะซิทัลดีไฮด์จะเก็บสะสมอยู่ที่ตับ ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็ง

  • ความอยากอาหาร (Appetite)

แต่ละบุคคลจะมีพันธุกรรมที่ตอบสนองต่อความอยากอาหารต่างกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่ช่วยส่งเสริมความอยากอาหาร ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ดังนั้น ควรปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทโปรตีนเพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงหรือลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและคาร์โบไฮเดรตลง

  • เบต้าแคโรทีน/ วิตามินเอ (Beta-Carotene/ Vitamin A)

วิตามินเอ มีประโยชน์ช่วยในการมองเห็น ช่วยการเจริญเติบโตของร่างกายผิวพรรณและผม รวมทั้งยังช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่แปลงเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอ ทำงานมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลทำให้เกิดภาวะการขาดวิตามินเอ ดังนั้น ควรบริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอมากกว่าปกติ ในทางตรงกันข้าม ระดับวิตามินเอในร่างกายที่มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดพิษและความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคมะเร็งปอด

  • การตอบสนองต่อกาเฟอีน (Caffeine Sensitivity)

การตอบสนองต่อกาเฟอีนขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กาเฟอีนอยู่ในร่างกาย การเผาผลาญกาเฟอีนได้เร็ว หรือช้า การที่กาเฟอีนอยู่ในร่างกายในระยะเวลานานจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตและโรคหัวใจ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่ที่มีอิทธิพลต่อการเผาผลาญกาเฟอีนในร่างกาย ยกตัวอย่าง ผู้ที่มียีนที่มีการตอบสนองต่อกาเฟอีนมาก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ร่างกายเผาผลาญกาเฟอีนได้ช้า ควรจะหลีกเลี่ยงการบริโภคกาเฟอีน หรือจำกัดการบริโภค น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน

  • การขาดแคลเซียม (Calcium Deficiency)

ร้อยละ 99 ของแคลเซียมอยู่ในกระดูกและฟัน สาเหตุหลักของการขาดแคลเชียมมาจากการขาดวิตามินดี ที่ช่วยดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย การขาดแคลเซียมทำให้เกิดสภาะกระดูกพรุน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ในทางตรงข้าม เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป จะมีแคลเซียมในกระแสเลือดมาก ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งบางประเภทตามมา อาทิเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือด ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยีนที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย และสามารถใช้ในการแนะนำปริมาณการบริโภคแคลเซียมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

  • การตอบสนองต่อคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate Sensitivity)

แต่ละบุคคลมียีนที่สร้างเอ็นไซม์อะไมเลสในน้ำลายซึ่งทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตได้แตกต่างกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยีนที่มีอิทธิพลต่อการย่อยคาร์โบไฮเดรต เพื่อนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีพันธุกรรมที่ตอบสนองต่อคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือมียีนที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตมีประสิทธิภาพน้อย จะมีโอกาสในการเพิ่มน้ำหนักตัวจากการรับประทานอาหารได้มาก อย่างไรก็ตาม หากท่านมีพันธุกรรมดังกล่าว สามารถแก้ไขโดยการรับประทานอาหารให้ช้าลงและเคี้ยวให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อเพิ่มระยะเวลาการย่อยคาร์โบไฮเดรต

  • การรับรสอาหารที่มีรสชาติมัน (Fat Taste)

อาการที่บางคนรับประทานอาหารที่มีรสมันแล้วรู้สึกว่ามันเลี่ยนเมื่อทานไปมาก ๆ แต่บางคนกลับทานอาหารสมันเหล่านี้ต่อไปได้โดยไม่รู้สึกเลี่ยน ความแตกต่างนี้อาจจะมีที่มาจากพันธุกรรม กลุ่มคนที่รับรสมันได้น้อยกว่าอาจจะเผลอรับประทานอาหารที่มีความมันมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความมันไม่ให้ทานมากเกินไป

  • ความต้องการโฟเลต (Folate)

การขาดโฟเลตจะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางและภาวะสุขภาพอื่น ๆ อาทิเช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจสั้น ใจสั่น หน้ามืดบ่อย ความจำและทักษะทางความคิดลดลง รวมทั้งมีการปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการแปลงกรดโฟลิคเพื่อนำไปสร้างสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย หากท่านมีพันธุกรรมนี้ ภาวะการขาดโฟเลตอาจจะเกิดขึ้นและสังเกตได้ค่อนข้างยาก แม้ว่าจะบริโภคอาหารที่มีโฟเลตในปริมาณที่แนะนำต่อวันแล้วก็ตาม

  • สภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส (Lactose Intolerance)

ปัญหาในการเผาผลาญน้ำตาลในนม หรือแลคโตสทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งมาจาก 2 สาเหตุหลัก สาเหตุแรกเกิดจากยีนที่ช่วยสร้างเอ็นไซม์ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสมีประสิทธิภาพลดลง และเกิดจากความผิดปกติของลำไส้ ทำให้สูญเสียความสามารถในการเผาผลาญแลคโตสชั่วคราว โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก ผลตรวจพันธุกรรม จะทำให้เราเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของสภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ในห้องแล็บทั่วไป

  • โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 (Omega-3 and Omega-6 Level)

ในสมองของมนุษย์ประกอบด้วยไขมันร้อยละ 60 จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม กรดไขมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเอง การขาดโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม ไขมันพอกตับ และโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ สัดส่วนที่ไม่เหมาะของโอเมก้า-6 ต่อ โอเมก้า-3 ยังก่อให้เกิดการอักเสบ โรครูมาตอยด์ และโรคหัวใจด้วยเช่นกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อระดับโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ในร่างกาย เพื่อใช้ในการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

  • โอเมก้า-3 และ DHA (Omega-3 and DHA)

โอเมก้า 3 เป็นกลุ่มของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ตัวอย่างโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดไขมันลิโนเลอิคชนิดแอลฟา (ALA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนกรดไขมันนี้ให้เป็น DHA การรับประทานกรดไขมันเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ระดับไขมันในเลือดลดลง การรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยรักษาระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ ตัวอย่างอาหารที่มีโอเมก้า 3 มาก ได้แก่ ปลาทะเล อาหารทะเล เมล็ดเชีย และอาหารที่มีการเสริมโอเมก้า 3

  • การตอบสนองต่อเกลือและความดันโลหิต (Salt Hypertension Sensitivity)

การบริโภคเกลือโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะการตอบสนองต่อเกลือและความดันโลหิต มักจะไม่แสดงอาการเด่นชัด แต่อาจจะมีสัญญาญเตือนโดยมีค่าความดันโลหิตสูงขึ้นพร้อมกับอาการปวดศรีษะ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลการตอบสนองต่อเกลือและความดันโลหิต โดยทั่วไป องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคเกลือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากท่านมีพันธุกรรมนี้ ควรหลีกเลี่ยง หรือลดปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมลงน้อยกว่าค่าที่แนะนำ

  • การรับรสเค็ม (Salt Taste Receptor)

ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อการรับรสเค็ม หากท่านมีพันธุกรรมนี้ จะมีความชอบในการบริโภคอาหารรสเค็ม และบริโภคในปริมาณที่มากกว่าปกติ ซึ่งส่งต่อผลให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

  • การตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat Sensitivity)

ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัว ผู้ที่ตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัวสูง การบริโภคไขมันอิ่มตัวจะส่งผลต่อน้ำหนักตัว เพิ่มขึ้นหรือลดลง แปรผันตามปริมาณที่บริโภค ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัวต่ำ ไม่ว่าจะควบคุมการบริโภค ไม่เกิน 22 กรัมต่อวัน ยังคงมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักตัวเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม การบริโภคไขมันอิ่มตัวในปริมาณมาก จะเพิ่มระดับไขมันเลว LDL ในร่างกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

  • การตอบสนองต่อไขมันไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fat Sensitivity)

การรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะมีส่วนช่วยลดไขมันและโครเลสเตอรอลในเลือด ดังนั้น ควรเพิ่มอาหารที่มีส่วนของไขมันไม่อิ่มตัว หรือ แทนที่ไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัว อาทิเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เมล็ดดอกทานตะวัน และถั่วชนิดต่าง ๆ

  • ธาตุเหล็ก (Serum Iron Level)

ธาตุเหล็กในร่างกายอาจมีทั้งน้อยไป หรือมากเกินไป การมีธาตุเหล็กในระดับต่ำจะส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ในทางตรงข้าม ธาตุเหล็กในระดับสูงไปจะส่งผลให้เลือดเป็นพิษ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อระดับธาตุเหล็กในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มียีนที่ส่งผลต่อการผลิตธาตุเหล็กในปริมาณมาก จะทำให้เกิดโรคปวดตามข้อ ปวดหลัง อ่อนเพลีย โดยเฉพาะผู้ชายช่วงอายุ 30 – 50 ปี จะมีผลมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีการสูญเสียเลือดในระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณธาตุเหล็กลง

  • การรับรสหวาน (Sweet Taste)

ผลตรวจพันธุกรรม หากท่านมียีนที่ส่งเสริมการรับรสหวาน ร่างกายจะสามารถรับรสหวานได้มาก แม้จะบริโภคอาหารที่มีรสหวานในปริมาณน้อย ในทางตรงข้าม หากท่านไม่มีพันธุกรรมดังกล่าว จะต้องบริโภคอาหารที่มีรสหวานในปริมาณมาก เพื่อให้ได้ระดับความหวานที่พึงพอใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ

  • วิตามินบี 12 (Vitamin B12 Level)

หน้าที่สำคัญของวิตามินบี 12 คือการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง รวมทั้งทำให้เซลล์มีความสมบูรณ์แข็งแรง โดยปกติร่างกายสามารถเก็บสะสมวิตามินบี 12 ไว้ในตับได้มากถึง 1,000 – 2,000 เท่าของปริมาณความต้องการต่อวัน เพื่อนำไปใช้ในวันที่มีไม่เพียงพอ การขาดวิตามินบี 12 จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดอาการชาในมือและเท้า และการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยีนที่มีอิทธิพลต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 ในร่างกาย สังเกตด้วยว่า แม้ว่าร่างกายเกิดภาวะการขาดวิตามินบี 12 จะไม่สามารถตรวจพบได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากร่างกายสามารถนำเอาวิตามินบี 12 ที่เก็บสะสมไว้ มาใช้งานได้เป็นระยะเวลานานนับปี

  • วิตามินบี 6 (Vitamin B6 Level)

วิตามินบี 6 ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ การขาดวิตามินบี 6 จะทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง เกิดแผลที่ผิวหนัง และมีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ ในทางตรงกันข้าม การได้รับวิตามินบี 6 ในปริมาณที่มากไป จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังชนิดรุนแรงด้วยเช่นกัน ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อความต้องการวิตามินบี 6 ในปริมาณที่สูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อาทิเช่น โรคมะเร็งลำไส้ ถ้าร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี 6 ในปริมาณที่เพียงพอ

  • วิตามินซี (Vitamin C Level)

วิตามินซีช่วยบำรุงผิวพรรณ สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ร่างกายไม่สามารถสร้างและเก็บสะสมวิตามินซีได้ เมื่อร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ จะทำให้ผิวพรรณไม่สดใส มีเลือดออกขณะแปรงฟัน แผลหายช้า และมีภูมิคุ้มกันโรคลงต่ำลง และหากรับประทานมากเกินไป วิตามินซีจะถูกขับออกทางร่างกายพร้อมปัสสาวะ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะ ผลตรวจพันธุกรรม จะแสดงให้เห็นถึงยีนที่มีอิทธิพลต่อความต้องการวิตามินซีในร่างกาย ซึ่งระดับของวิตามินซียังส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายด้วย

  • วิตามินดี (Vitamin D Level)

วิตามินดีช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของมวลกระดูก การขาดวิตามินดี ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน และโรคมะเร็งบางประเภท ผลตรวจพันธุกรรม จะเแสดงให้เห็นถึงสาเหตุของการขาดวิตามินดี และใช้ในการแนะนำปริมาณการบริโภคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

  • วิตามินอี (Vitamin E Level)

วิตามินอีเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยบูสต์การผลิตคอลลาเจน คืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว รักษาผิวที่เสียหาย ลดริ้วรอย และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอีละลายในไขมันและเมื่อใช้ไม่หมดจะถูกเก็บสะสมไว้ในตับ โดยทั่วไป การขาดวิตามินอีมีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรม ซึ่งไม่พบบ่อยนัก และอาจจะพบในผู้ที่ควบคุมและจำกัดปริมาณการบริโภคไขมัน อย่างไรก็ตาม การขาดหรือการมีวิตามินอีในร่างกายในระดับที่มากเกินไปจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม

ที่มารูป : freethink (2022)

Epigenetics

การค้นคว้าและทำความเข้าใจกับ epigenetics ทำให้เรารู้ว่า ดีเอ็นเอ นั้น มีความเชื่อมโยงกับ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา … กล่าวคือ coded dna เปรียบเสมือน กรรม ที่ผู้นั้นได้กระทำมาแต่ชาติปางก่อน จดบันทึกลง dna strand สามพันล้านคู่สาย และ epigenetics หรือ ส่วนของดีเอ็นเอที่ไม่ได้ถูกเข้ารหัส ATCG นั้น เปรียบเสมือน กรรม ที่เกิดขึ้นจากการกระทำในช่วงชีวิตของมนุษย์ ในทางพุทธศาสนา epigen อาจเปรียบเสมือนตัวควบคุมการแสดงออกทางร่างกายและจิตใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มนุษย์เรานั้นมีความสามารถ “โดยธรรมชาติ” ที่จะ master body & mind …. นักกีฬา ฝึกฝน well-trained ทำให้ gene แสดงออกเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และเซลล์สมองจดบันทึกทักษะทางกีฬาเอาไว้
ความเข้าใจศาสตร์จีโนมิกส์ หรือด้านพันธุกรรมมนุษย์ ทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่า พรสวรรค์ (จาก ยีน) และ พรแสวง (epigen) … นั้น มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ คำกล่าวที่ว่า เด็กเปรียบเสมือนผ้าสี (coded dna) อาจจะเป็นความจริง เพียงแต่ต้องการให้ผู้ใหญ่ทำให้สีนั้น ๆ แสดงออกมา (epigen) หรือทำให้สีนั้น มีความโดดเด่นและชัดเจนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เค้าได้เติบโต สร้างเป้าหมายสู่ความสำเร็จ ตามสีที่เค้าเป็น
ที่มารูป : NIEHS

Eat Score

Eat Score เครื่องมือวัดคุณภาพการกิน (เต็ม 100)
• มากกว่า 80 -> Good diet
• 51 ถึง 80 -> Need dietary improvement
• น้อยกว่า 51 -> Poor

” โหลดแอพฯ KinYooDee ”

กินอยู่ดี แพลฟอร์ม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี
#กินอยู่ดี #EatScore #DietScore