Craftbeer

สร้างโมเดลทางธุรกิจ Craft Beer Box โดยใช้ตู้ตอนเทนเนอร์ (ตู้สั้น) ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร  (สูง 2.6 เมตร) เพื่อให้ง่ายต่อการขนย้าย และการวางตำแหน่งในพื้นที่ชุมชน รวมทั้ง การประยุกต์ใช้ระบบ iorder อย่างเต็มรูปแบบ อาทิเช่น ระบบขายหน้าร้าน (Tablet POS) การจัดการวัตถุดิบ ระบบจัดการครัว สต็อก บัญชีต้นทุน การจองและสั่งอาหารล่วงหน้า การจัดส่งและเดลิเวอรี่ เปิดให้ผู้สนใจร่วมลงทุนและบริหารกิจการ คราฟเบียร์และร้านอาหาร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3xx,xxx ต่อสาขา (รูปแผนผังร้าน Plan) นอกจากนี้ ไอออเดอร์ยังให้บริการออกแบบและก่อสร้างร้านอาหารสำเร็จรูปโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับผู้สนใจทั่วไป

 

Smart Retail

ระบบจัดการค้าปลีกอัจฉริยะ (Smart Retail) เป็นการบูรณาการงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้โครงการ Smart Supply Chain และ Trading  Business Simulation Game โดยสร้างต้นแบบในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ Smart Retail ครอบคลุม 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

  • Null Stock: ระบบเติมเต็มวัตถุดิบโดยอาศัยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)พยากรณ์ยอดขาย ประมาณความต้องการวัตถุดิบ และควบคุมวัตถุดิบ/สินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับ 0 (Null) เพื่อลดความสูญเสียวัตถุดิบ (Food waste) ลดต้นทุนการสั่งซื้อ/ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนสินค้าคงคลัง
  • Smart Booking & Delivery: ระบบเดลิเวอรี่ภายชุมชน รวมทั้งการจอง/สั่งล่วงหน้า (Pickup order/ Pre-order booking) จัดลำดับส่งสินค้าและบริการ โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์ เพื่อให้ต้นทุนในการส่งมอบสินค้าต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัด และความต้องการของลูกค้า
  • Recommender: ระบบแนะนำสินค้าและบริการ โดยสังเคราะห์ข้อมูลการสั่งซื้อ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงพฤติกรรมของลูกค้าในรูปแบบโครงข่ายความสัมพันธ์ เพื่อแนะนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล อาทิเช่น เมนูแนะนำ โปรโมชั่น Menu pairing, Set meal และ Social recommend เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการ
  • Blockchain: ระบบควบคุมความปลอดภัย (Food safety) การสร้างความน่าเชื่อถือของชัพพลายเออร์ และ Smart contract ใน Food supply chain โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ภายใต้โครงการจะจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร/ ผู้ผลิตภายในชุมชนโดยตรง (Farm-to-table) เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน

ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการ

  • เพื่อสร้าง Playground สำหรับการทดลอง วิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบ Smart Retail
  • เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ระบบจัดการโซ่อุปทานสมัยใหม่ สำหรับร้านค้าปลีกและธุรกิจบริการ
  • เพื่อนำผลลัพธ์ของโครงการไปต่อยอด งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการขยายผลในเชิงพาณิชย์
  • เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0/ EEC และ New S-Curve (อุตสาหกรรมโลจิสติกส์)
  • เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน = สิ่งแวดล้อม (ลดของเสีย/ Food waste) + ความมีส่วนร่วม (Trusted supplier network) + เศรษฐกิจชุมชน (Farm-to-table)

Simulation

ปัจจุบัน การบริหารโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมการผลิตมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของปัจจัยหลัก  4 ตัว ได้แก่ อุปทาน (Supply) อุปสงค์ (Demand) ปริมาณวัตถุดิบ/สินค้าคงคลัง (Inventory) และสภาพเศรษฐกิจ (Economy) ดังนั้น ความรู้และความเข้าใจการจัดการโลจิสติกส์ และการบริหารโซ่อุปทาน จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มผลกำไร และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันขององค์กรได้

TradeSim มีจุดเด่นและแตกต่างเกมจำลองอื่น ๆ เนื่องจากเป็นระบบสารสนเทศเชิงบูรณาการ โดยผนวกกับแบบจำลองโซ่อุปทาน (Supply chain simulation) เกมในภาคธุรกิจ (Business game) และการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) อาทิเช่น การซื้อขายวัตถุดิบหรือ Product ในเทอมการค้าต่าง ๆ เช่น FOB FCA หรือ CIF การบริหารวัตถุดิบ/สินค้าคงคลัง การบริหารค่าระวางการขนส่งสินค้า การซื้อซื้อขายวัตถุดิบหรือ Product แบบ Physical หรือ Paper (ซื้อขายตัวเลขกันแบบไม่มีสินค้าจริง) หรือการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ทั้งแบบ Fix และ Float (ราคาล่วงหน้าที่วันปัจจุบัน + x บาท) เป็นต้น ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลผู้เล่นทั้งหมดไว้ด้วยกันแบบเรียลไทม์ และ Fully synchronization สามารถจำลองสถานการณ์ นโยบาย และกลยุทธ์ในการจัดการและบริหารโซ่อุปทานสมัยใหม่ รวมถึงการผสมผสานระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาในเกมจำลองการบริหารโซ่อุปทานในการวิเคราะห์ข่าวจากสื่อออนไลน์ (Web and text mining) ข้อมูลราคาตลาด พยากรณ์แนวโน้ม โดยอาศัยข้อมูล Supply, Demand, Inventory และ Economic จากสถานการณ์โลก เพื่อให้ระบบปฏิบัติการจำลองมีความเสมือนจริงมากที่สุด

หลังจบเกม Admin สามารถดูสรุปผลการเล่นในด้านต่าง ๆ สรุปผลรวมของแต่ละผู้เล่น กำไรที่ทำได้ จำนวนวัตถุดิบและสินค้าที่เหลือในคลัง การซื้อขายรวม จำนวนการซื้อขาย และเงินที่เหลือ การสรุปผลในแต่ละ Period จำนวนการซื้อขายและมูลค่าการซื้อขายในแต่ละ Period แบ่งตามผู้เล่น และ Product ชนิดต่าง ๆ รวมถึงรายละเอียดในแต่ละ Order และพฤติกรรมการซื้อขายของผู้เล่น